วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน




ความหมายและความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน         
      กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน หมายถึง ขั้น ตอนหรือลำดับการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริม ความปลอดภัยในชุมชน ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนได้ใช้กรอบแนวความคิดของ โครงการที่เรียกว่าชุมชนปลอดภัย (Safety community)” ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ ใช้ต่อสู้กับปัญหาอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีหลักการดำเนินงานที่ มุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชุมชน เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและลดพฤติกรรมเสี่ยงระดับบุคคล
             
 เนื่อง จากปัญหาความไม่ปลอดภัย เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจทำให้บุคคลเกิดการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตหรือสูญเสียทรัพย์สิน เช่น ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นทั้งจากการถูกปล้น ชิงทรัพย์ การทำร้ายร่างกาย การฆ่า การข่มขืน หรือปัญหาความไม่ปลอดภัยและความเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของเยาวชน หรือปัญหาอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมประมาท ขาดความระมัดระวัง การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนจึงมีความสำคัญการลดปัญหาความไม่ปลอดภัย ต่างๆ ดังกล่าว ทำให้คนในชุมชนมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากภัยอันตรายที่ส่งผลทำลายสุขภาพและชีวิต ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างเสริมความปลอดภัยที่ประกอบไปด้วยกระบวนการดำเนิน งานที่เป็นลำดับขั้นตอน และอาศัยความร่วมมือของชุมชนเป็นพื้นฐาน ย่อมทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการจัดการเรื่องความปลอดภัยในชุมชนได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม ตรงกับความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง เช่น กระบวนการทางประชาสังคมที่ใช้สร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน ที่นักเรียนได้ศึกษาในระดับชั้นเรียนที่ผ่านมานั้น ก็ถือว่าเป็นกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนวิธีหนึ่ง เพราะวิธีการที่ยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญในเรื่องของความร่วมมือกันของคนในชุมชนในการสร้างจิตสำนึก เรื่องความปลอดภัย จนเกิดการช่วยกันดูแลและป้องกันอันตรายต่างๆ ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
             
 ดัง นั้น ทุกชุมชนควรสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนของตนเองให้เกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนให้มีสุขภาพดี ไม่ให้ได้รับอันตรายจากปัญหาความไม่ปลอดภัยต่างๆ โดยใช้กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ และยึดหลักการร่วมแรงร่วมใจกันของชุมชนเป็นพื้นฐาน

กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน               กระบวน การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน เป็นความจำเป็นพื้นฐานด้านความปลอดภัยที่ควรดำเนินการในชุมชน เพราะความปลอดภัยเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนพึงมีพึงได้ โดยประชาชนมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยอย่างปลอดภัย มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและจัดการกับสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อ ให้เกิดความปลอดภัย มีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดคืออันตราย อะไรคือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บและความไม่ปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในแต่ละชุมชนอาจมีขั้นตอน ลำดับและรูปแบบของการดำเนินงาน หรือการจัดกิจกรรมสร้างเสริมความปลอดภัยที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกการดำเนินงานตามกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนนั้นจะต้องมี หลักการที่ไปในทิศทางเดียวกัน คือ มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางสุขภาพของบุคคลในชุมชนเป็นสำคัญ
              6.2.1 หลักการดำเนินการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
ชุมชนปลอดภัย ต้องมีหลักการดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัย ดังนี้
              1. ชุมชนต้องดำเนินการป้องกันภัย อันตรายต่างๆ ที่เกิดจากความสนใจหรือปัญหาของชุมชน เช่น การป้องกันภัยจากสารเสพติด การป้องกันภัยจากอัคคีภัย การป้องกันภัยจากโจรผู้ร้ายโดยอาจมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบันต่างๆ ในระดับชุมชน เพื่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง

การป้องกันภัยจากสารเสพติด

             2. ชุมชน ต้องมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานหรือ องค์กรภายนอกชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัย และปัญหาการเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายต่างๆ

การร่วมมือระหว่างชุมชนกับองค์การนอกชุมชน

             3. ชุมชน ต้องมีระบบการเฝ้าระวังภัยอันตรายของชุมชน ที่จะนำไปสู่การประเมินขนาดของปัญหาสาเหตุของปัญหา และปัจจัยเสี่ยงของความไม่ปลอดภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น
             4. ชุมชนต้องมีระบบการสำรวจความ ปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชน และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการเกิดอันตราย เพื่อที่จะดำเนินการวางแผนแก้ไขต่อไป
             5. ชุมชนต้องมีการต่อต้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนได้แก่ ต่อต้านผลิตภัณฑ์เสี่ยง และสิ่งแวดล้อมอันตราย เช่นของเล่นที่เป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก เครื่องสำอางที่หลอกลวงประชาชน การสร้างถนนในชุมชนโดยไม่มีทางเท้า หรือทางสำหรับคนเดินข้ามถนน การใช้สารเคมีหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อคนในชุมชน เป็นต้น รวมทั้งการต่อต้านพฤติกรรมการก่อให้เกิดอันตรายของบุคคล เช่น พฤติกรรมเมาแล้วขับ พฤติกรรมการเสพสารเสพติด พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาทางเพศ เป็นต้น
             6. ชุมชนต้องมีระบบการฝึกอบรมการสอน หรือเผยแพร่ความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชน ในเรื่องของการสร้างเสริมความปลอดภัย และการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายต่างๆ
             7. ชุมชนต้องมีระบบการเตรียมความพร้อม ในการรับกับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน เช่น การเกิดอัคคีภัย การเกิดภัยธรรมชาติ โดยต้องมีการจัดระบบการอพยพผู้คนและแจ้งข่าวสาร มีการปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีประสิทธิภาพ

การเตรียมความพร้อมในการเกิดอัคคีภัย

             8. ชุมชนต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานที่จัดขึ้นภายในชุมชนของตนเอง โดยกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม
             9. ชุมชนต้องมีการรวบรวมความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานสร้างความปลอดภัยในชุมชนของตนเอง เผยแพร่สู่สังคมอื่นๆ เพื่อขยายผลในการสร้างเสริมความปลอดภัยในระดับประเทศชาติต่อไป
ชุมชนกับความปลอดภัย
ชุมชน คือ กลุ่มคนในขอบเขตพื้นที่ในอาณาเขตเดียวกัน ที่มีจำนวนครัวเรือนหลายๆครัวเรือนอยู่ร่วมกันในพื้นที่แห่งนั้น ซึ่งชุมชนนั้นจะมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 
ลักษณะของชุมชนขนาดเล็ก : มีครอบครัวอยู่กันจำนวนน้อย รู้จักกันทั่ว ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแน่นแฟ้น
ลักษณะของชุมชนขนาดใหญ่ : มีครอบครัวอยู่กันจำนวนมาก อาจกลายเป็นชุมชนแออัดได้ และมักมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี
การ สร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนนั้นควรจะทำหลายๆด้าน ซึ่งทุกๆคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆของตนเอง และบุคคลอื่น 




การสร้างเสริมความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
การ สร้างเสริมความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่มีความสุขได้ ซึ่งมีหลักการดังนี้
1. เป็น ผู้ที่มีสติมั่นคง ไม่ตื่นเต้นตกใจง่าย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีเฉพาะหน้าขึ้น ก็ควรตั้งสติ และพิจารณาว่าควรจะแก้ปัญหานั้นอย่างไรดี
2. เป็นคนช่างสังเกต ว่าจะมีเหตุการณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่
3. อย่าไว้ใจคนง่าย พึงระวังคนแปลกหน้า
4. อย่าละโมบโลภมาก เพราะคนโลภมากมักตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
5. ไม่เป็นคนสะเพร่ามักง่าย เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง
6. ต้อง มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างความปลอดภัยให้กับตนเองได้ อย่าปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม หรือโทษเรื่องของเคราะห์เมื่อเกิดเหตุร้ายกับตนเอง
7. จงยึดคำขวัญที่ว่าปลอดภัยไว้ก่อน  



 การสร้างเสริมความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะ
1. การใช้จักรยาน 1.1 ตรวจดูสภาพรถจักรยานว่ามีส่วนใดชำรุดหรือไม่
                      1.2 ขี่ชิดริมถนนด้านซ้ายและขี่ในทิศทางที่ถูกต้อง
                      1.3 เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
                      1.4 ไม่ประมาท
 2. รถจักรยานยนต์และรถยนต์ 2.1 ตรวจดูสภาพรถ
                                     2.2 ขับขี่ชิดริมถนนด้านซ้าย
                                     2.3 เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
                                     2.4 สวมหมวกนิรภัย หากเป็นรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย
                                     2.5 ไม่แข่งขันรถกันบนถนน
                                     2.6 ไม่ประมาท
                                     2.7 ไม่ขับขี่ขณะมึนเมา 



การสร้างเสริมความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว
1. ศึกษาสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ และภูมิอากาศของสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยว ถ้าเห็นว่าอาจเกิดอันตรายได้ ก็ควรงดเว้นการเดินทาง
2. ควรเตรียมยา เครื่องเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางติดตัวไปด้วย
3. ไม่ดื่มสุรา หรือใช้ยาเสพติดในขณะท่องเที่ยว
4. การไปเที่ยวต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อมต่อลักษณะการไปเที่ยวในสถานที่นั้นๆ
5. ระมัดระวังพวกมิจฉาชีพ 



การสร้างเสริมความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย
1. ภัย จากวัวหรือควาย ถ้านักเรียนถูกวัวหรือความวิ่งไล่ ควรรีบถอดเสื้อ หรือถ้ามีผ้าถือไว้ให้โยนทิ้ง วัวหรือควายจะหยุดดมของที่เราทิ้งไว้ หรือถ้าว่ายน้ำ
    เป็น ให้วิ่งลงน้ำ
2. ภัยจากสุนัข การเตรียมไม้เพื่อป้องกันตัวจากการถูกสุนัขกัดเป็นสิ่งที่ควรทำ
3. ภัย จากงู ควรหลีกเลี่ยงการเดินไปในที่มืด ที่รก หากมีความจำเป็นควรสวมร้องเท้าบูทแล้วใช้ไม้ตีต้นหญ้าหรือพุ่มไม้ไปตลอดทาง เพื่อให้งูเลื่อยหนีไป 



 การสร้างเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรม
1. การป้องกันการลักทรัพย์ในที่พักอาศัย 1.1 ก่อนออกจากบ้าน ควรมีคนที่ไว้ใจได้อยู่ดูแลที่พักอาศัย, ควรเปิดไฟบางห้องไว้
 1.2 ก่อนเปิดประตูบ้าน ก่อนเปิดประตูบ้านรับแขก ควรดูให้ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด, ตรวจสอบบัตรประจำตัวช่าง  ซ่อมหรือตัวแทนบริษัทต่างๆที่จะเข้ามาในบ้าน
  1.3 นอนหลับตอนกลางคืน เมื่อพลบค่ำควรรูดม่านปิด ไม่ให้คนนอกมองเห็นด้านใน
1.4 ข้อควรปฏิบัติ ไม่ปล่อยให้ที่พักอาศัยมีต้นไม้สูง, ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน, ไม่ควรเก็บของมีค่าไว้ที่บ้าน , ถ้ามีโทรศัพท์ซักถามว่ามีคนอยู่บ้านไหม ให้ตอบว่าอยู่กันหลายคน, เมื่อเกิดเหตุร้าย  ไม่ควรพยายามจับผู้ร้ายด้วยตนเอง(โทร. 191)
2. การป้องกันการล่วงกระเป๋า
 2.1 ไม่นำทรัพย์สินมีค่าพกติดตัวจำนวนมาก
2.2 พกกระเป๋าเงินไว้ในที่ปลอดภัย
2.3 กระเป๋าถือสตรี ควรถือกระชับมือไว้
2.4 พึงระลึกไว้ว่า คนร้ายเป็นได้ทุกเพศทุกวัย
2.5 หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มักเกิดเหตุร้าย
2.6 เมื่อถูกล่วงกระเป๋า ควรตะโกนขอความช่วยเหลือ


3. การป้องกันการถูกล่อลวงข่มขืน
 3.1 อย่าแต่งตัวล่อแหลม
3.2 อย่าดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิด
3.3 อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้า 

ตัวอย่างการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน                 การ สร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนส่งผลดีต่อประชาชนที่อาศัยในชุมชน ช่วยทำให้บุคคลมีสวัสดิภาพในการดำรงชีวิต ปราศจากการเจ็บป่วย และการได้รับอันตรายจากภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งนักเรียนสามารถนำตัวอย่างการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนต่อไปนี้ มาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชนตนเอง เพื่อการเป็นชุมชนที่ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีของทุกคน
              1. กิจกรรมหรือโครงการด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ เช่น
              - กิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในวันปี ใหม่ เป็นโครงการกิจกรรมด้านความปลอดภัยของเครือข่ายชุมชนปลอดภัย ซวยสวนเงิน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนกับเด็กและคนในชุมชน ในวันปีใหม่ และเพื่อสร้างความตระหนักในการขับขี่อย่างปลอดภัย มีแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ เช่นจัดป้ายรณรงค์เพื่อเผยแพร่วิธีการป้องกันอุบัติเหตุ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัยการจัดการแข่ง ขันตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ เป็นต้น

กิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในวันปีใหม่

              - โครงการ จักรยานปลอดภัย สุขภาพสดใส เป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางการจราจร โดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่สนับสนุนให้เกิดกลไกการดำเนินงานในระดับชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการชุมชนให้ตระหนักถึงการป้องกันอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บจากการจราจรในเด็ก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และเพื่อสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยแก่เด็ก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีกลุ่มเป้าหมายและเครือข่ายเป็นเด็กในกรุงเทพมหานคร ชุมชนปลอดภัย 10 ชุมขน และโรงเรียนปลอดภัย 20 แห่ง มีแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างค่านิยมในการใช้รถจักยานและการขับขี่อย่างปลอดภัยในชุมชนเสริมสร้าง ให้มีมาตรฐานของการขับขี่และการใช้อุปกรณ์เสริมป้องกันการบาดเจ็บในการขับ ขี่รถจักรยานเป็นต้น

รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย

              - โครงการ เผยแพร่ความรู้เพื่อความปลอดภัยสู่ชุมชน เป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยของชมรมยุวชนบ้านตลาดเกรียบ อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหาอันตรายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในชุมชน โดยกลุ่มชนรมเยาวชนของบ้านตลาดเกรียบได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนโดยมีวิธีการดำเนินการเผยแพร่ความรู้ผ่าน การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของชุมชน เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนในเรื่องความปลอดภัย เช่น รณรงค์เมาไม่ขับ วิธีป้องกันการจมน้ำ และการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เรื่องการสวมหมวกนิรภัยอย่างปลอดภัย รวมทั้งการจัดป้ายเตือนภัยตามจุดอันตรายต่างๆ อีกทั้งประสานกับหน่วยงาน เช่น สายตรวจชุมชน ในการเตรียมแผนเฝ้าระวังภัยในช่วงเทศกาลวันปีใหม่

ภาพที่ 6.6 การจัดป้ายเตือนภัยตามจุดอันตราย



สายตรวจชุมชน





              2. กิจกรรมหรือโครงการด้านความปลอดภัยจากปัญหาอาชญากรรมและโจรผู้ร้าย เช่น
              - โครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย เป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายในชุมชน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนช่วยกันดูแลและสอดส่องปัญหาความไม่ปลอดภัยในร่างกาย และทรัพย์สินร่วมกัน โดยมีการรวมกลุ่มของเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกัน 3-4 หลังคา เรือน ผลัดกันดูแลบ้านและกำหนดจุดเตือนภัยที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม พร้อมกับแจ้งข้อมูลให้กับตำรวจในท้องที่ได้รับทราบ เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป

               3. กิจกรรมหรือโครงการด้านความปลอดภัยจากสารเสพติด เช่น
              - โครงการทูบีนัมเบอร์วัน (TO BE NUMBER ONE) เป็น โครงการในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด ให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนทั่วประเทศไทยมีความตระหนักถึงพิษภัยของสารเสพ ติดและปลูกฝังค่านิยมในการต่อต้านสารเสพติด โดยมีการดำเนินงานผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายใต้คำขวัญที่ว่า เป็นหนึ่ง โดยไม่พึ่งนาเสพติดเช่น จัดกิจกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของเยาวชนโดยการเล่นกีฬา เล่นดนตรี เต้นแอโรบิก และการทำกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้สังคมต่างๆ รวมทั้งมีการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดให้กลับคืนสู่สังคมภายใต้โครงการใครติดยายกมือขึ้น

กิจกรรมโครงการทูบีนัมเบอร์วัน


              - โครงการ หัวใจไร้สาร เป็นโครงการในพระอุปถัมภ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนในชุมชนหรือโรงเรียนต่างๆ จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด มีการดำเนินงานภายใต้การรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับ สารเสพติด หรือชมรมหัวใจไร้สาร จนทำให้เกิดกระแสการสร้างค่านิยมในการต่อต้านการใช้สารเสพติดอย่างกว้างขวาง
นอกจากจะจัดโครงการแยกตามประเภทภัยอันตรายที่เกิดขึ้นใน ชุมชนจากตัวอย่างที่ได้นำเสนอดังกล่าวแล้ว นักเรียนสามารถจัดกิจกรรม หรือโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนของตนเองให้มีความปลอดภัยในทุกๆ ด้าน ดังตัวอย่างของ โครงการเซฟตี้โซน (safety zone) ซึ่งเป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยของสถานีตำรวจนครบาลพญาไท ในพื้นที่ของเครือข่ายชุมชนปลอดภัย ชุมชนซอยสุเหร่า เพชรบุรี 7 กรุงเทพ มหานคร มีการกำหนดพื้นที่ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุในทุกๆ เรื่อง เช่น อุบัติเหตุทางการจราจร อุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ และกำหนดพื้นที่ความปลอดภัยจากอาชญากรรมและสารเสพติด โดยมีการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ เช่นจัดตั้งกลุ่มเยาวชนอาสาสมัครตำรวจบ้าน จัดตั้งจุดตรวจความไม่ปลอดภัยโดยให้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดการเผยแพร่และอบรม การป้องกันอัคคีภัย การปฐมพยาบาล และการป้องกันสารเสพติดของชุมชน

               6.2.2 การประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
              การประเมินกระบวนการสร้างเสริม ความปลอดภัยในชุมชนเป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานของกิจกรรมสร้าง เสริมความปลอดภัยในชุมชนที่ดำเนินการไปแล้วนั้น บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้คาดหวังไว้หรือไม่ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด และมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อจะได้นำไปพัฒนาการจัดกิจกรรม สร้างเสริมความปลอดภัยอื่นๆ ที่ดียิ่งขึ้นของชุมชนต่อไป ซึ่งกระบวนการประเมินผลจะต้องประกอบไปด้วย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำตรงกับความเป็นจริง โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อนำมาประเมินผล สามารถกระทำได้ทั้งในระหว่างดำเนินการและสิ้นสุดโครงการ ดังนี้
              1. การประเมินการสร้างเสริมความ ปลอดภัยก่อนการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินในช่วงระยะแรกของโครงการ เช่น การสำรวจความต้องการด้านความปลอดภัยของประชาชนการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการด้านต่างๆ ทั้งเรื่องของเงินทุน เครื่องมือ เครื่องใช้ กำลังคนและเทคนิควิธี
              2. การประเมินผลการสร้างเสริมความ ปลอดภัยระหว่างการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลในระหว่างที่มีการดำเนินโครงการไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผละแปลผลข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าโครงการได้ดำเนินไปตามกระบวนการขั้นตอนที่ว่างแผนไว้หรือไม่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือมีอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไข ให้โครงการได้ดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพจนสิ้นสุดโครงการ
              3. การประเมินผลการสร้างเสริมความ ปลอดภัยหลังการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลที่กระทำเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานของโครงการแล้ว โดยมีการนำผลการศึกษาของการประเมินผลในขั้นต่างๆ ตั้งแต่การประเมินก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างการดำเนินโครงการ และหลักการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์และแปลผลร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการจัดทำโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยนั้นๆ บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้วางเป้าหมายไว้หรือไม่
การสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยในชุมชน                การ ที่บุคคลจะเกิดพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง ได้นั้น บุคคลดังกล่าวควรต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของความปลอดภัย และมีทัศนคติที่ดี หรือมีความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยในด้านต่างๆ ซึ่งชุมชนสามารถสร้างความตระหนักในการระมัดระวังภัยอันตรายและการป้องกัน ความไม่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับคนของชุมชน ดังวิธีการต่อไปนี้
               1. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูก ต้องในการป้องกันภัยอันตรายต่างๆ โดยการเผยแพร่ความรู้ผ่านกลุ่มคนในชุมชน เช่น ฝึกอบรมการป้องกันภัยจากโจรผู้ร้าย การฝึกซ้อมหนีไฟ และการปฐมพยาบาล การแจ้งเตือนถึงอันตรายของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหาและผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน จนก่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยของคนในชุมชนไปโดยอัตโนมัติ

การเผยแพร่ความรู้ผ่านกลุ่มคนในชุมชน

               2. การ ปลูกฝังทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัย คือ การตระหนักว่าความปลอดภัยมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ทำให้บุคคล ครอบครัว และชุมชนมีสุขภาพที่ดี และการไม่ระมัดระวัง ฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยต่างๆ ถือว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง วิธีการปลูกฝังทัศนคติด้านความปลอดภัยเช่น ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อกระบวนการสร้างเสริมความ ปลอดภัยในชุมชนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดความปลอดภัยในชุมชนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดการชักจูงโดยกลุ่มของชุมชนให้บุคคลเห็นคุณค่าของการมีชีวิต อยู่อย่างปลอดภัย มีความตระหนักว่าความปลอดภัยของชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่ต้องมีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง

การปลูกฝังทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยบนท้องถนน

               3. การ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ชุมชนต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติและมีการสืบทอดพฤติกรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ จากรุ่นพ่อแม่สู่ลูกหลานสืบต่อไป จนเกิดเป็นวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ ขึ้นในชุมชน เช่นการขับขี่ตามกฎจราจร การหลีกเลี่ยงสารเสพติด การให้ความร่วมมือในการป้องกันภัยอันตราย

กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัย                กฎหมาย คุ้มครองความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความปลอดภัย เพราะกฎหมายดังกล่าวช่วยควบคุม บังคับให้ประชาชน นายจ้าง นิติบุคคล หรือองค์กรต่างๆ ได้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกฎหมาย ส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัยในสังคมโดยส่วนรวม
                กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ ซึ่งในบทเรียนนี้จะกล่าวเฉพาะกฎหมายที่สำคัญๆ ดังนี้
               1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่บัญญัติสิทธิและ หน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงาน และการจ่ายค่าตอบแทนเพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยที่ดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร
                กฎหมายนี้มี 116 มาตรา แบ่งเป็น 16 หมวด ซึ่งจะขอกล่าวเฉพาะหมวดที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยโดยตรงของลูกจ้าง ดังนี้
                หมวดที่ 2 ว่าด้วนการใช้แรงงานทั่วไป
ให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ให้มีการประกาศหยุดตามประเพณีให้ทราบล่วงหน้า ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งรวมวันแรงงานแห่งชาติ ลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่า 6 วัน และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด
                หมวดที่ 3 ว่าด้วยการใช้แรงงานหญิง
กำหนดประเภทของการทำงานที่ห้ามมิให้ลูกจ้างหญิงทำงานที่ส่ง ผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต รวมถึงการกำหนดการทำงานของหญิงมีครรภ์ และสิทธิลาคลอด
                หมวดที่ 4 ว่าด้วยการใช้แรงงานเด็ก
ห้ามมิให้จ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นลูกจ้าง และการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงาน จัดทำบันทึกสภาพการทำงาน แจ้งพนักงานเลิกจ้าง รวมทั้งกำหนดประเภทงานที่ห้ามจ้างเด็กทำงาน และข้อกำหนดในการทำงาน
                หมวดที่ 8 ว่าต้องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย เพื่อเสนอความคิดเห็นรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้อง และให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการบริหารในเรื่องความปลอดภัย

               2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
                พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในการบริโภค การซื้อและการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสินค้าต่างๆ รวมถึงสิทธิของผู้บริโภคในการร้องเรียน และเรียกร้องความเป็นธรรมที่เกิดจากการซื้อและใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยและไม่ เป็นธรรม
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภคที่น่าสนใจมีดังนี้
                - การกำหนดแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้ม ครองผู้บริโภค เพื่อทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับอันตรายจากการใช้ สินค้า หรือได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งทำหน้าที่ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคที่เห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
                - การกำหนดการควบคุมฉลากของสินค้า ในมาตรา 30 และมาตรา 31 โดย กำหนดให้สินค้ามีการแสดงฉลาก เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้า รวมถึงลักษณะของรายละเอียดของตัวฉลากที่สินค้าแต่ละประเภทพึงมี เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

                 3. พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542
                พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย                 ซึ่ง กำหนดให้ประชาชนและหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตาม หน้าที่ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ได้อย่างปลอดภัยและเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม
                พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
                มาตรา 14 ใน กรณีฉุกเฉินเมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการหรือสั่งให้พนักงานดังเพลิงหรืออาสา ดับเพลิงดำเนินการดังต่อไปนี้
                1. กำหนดบริเวณหรือสถานที่ที่อาจเกิดเพลิงไหม้
                2. จัดระเบียบการจราจรชั่วคราวในบริเวณที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัย
                3. ปิดกั้นมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณหรือสถานที่ที่กำหนด
                4. เคลื่อนย้ายหรือทำลายสิ่งที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้
                มาตรา 23 ผู้ ใดพบเพลิงเริ่มไหม้ให้แจ้งต่อเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาอาคาร หรือสถานที่ที่เป็นต้นเพลิงเพื่อทำการดับเพลิง ถ้าไม่ปรากฏตัวบุคคลดังกล่าว และเพลิงนั้นอยู่ในสภาพที่ตนสามารถดับได้ ก็ให้ทำการดับเพลิงนั้นทันที ถ้าเพลิงนั้นอยู่ในสภาพที่ตนไม่สามารถดับได้ ให้รีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยด่วน
                มาตรา 35 ผู้ใดแจ้งเหตุหรือให้อาณัติสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               มาตรา 36 ผู้ ใดไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำลาย เคลื่อนย้าย กีดขวาง หรือทำให้เกิดอุปสรรคต่อการใช้อาณัติสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เครื่องดับเพลิง หรือท่อส่งน้ำดับเพลิงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 1 น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัย                หน่วย งานที่ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยแก่ประชาชนมีมากมาย หลายหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานในสังกัดภาครัฐบาลและสังกัดภาคเอกชน
หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยที่สำคัญ มีดังนี้
                1. สำนัก งานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีภารกิจหลักในการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน และรักษาความสงบเรียบร้อยแก่สังคม นักเรียนสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติได้ตามความเหมาะสม เช่น
                - กองบังคับตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ในการตรวจและจัดการจราจร ควบคุมเหตุฉุกเฉิน สอบสวนเกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจร และตำรวจจราจรในสังกัดยังคอยทำหน้าที่ช่วยเหลือให้ความปลอดภัยและความสะดวก แก่ประชาชนที่ใช้รถ ใช้ถนน รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่พิเศษเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินด้วย
                - กองบังคับการตำรวจทางหลวง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมกำกับดูแล รักษาทางหลวงแผ่นดิน อำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยในด้านการจราจรรวมทั้งทำหน้าที่ป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเขตทางหลวง และคอยให้บริการช่วยเหลือผู้ใช้ทางและประชาชนทั่วไป



                 นอก จากหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวแล้ว นักเรียนสามารถร้องขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยอันตรายขึ้นกับตนเองหรือพบ เห็นผู้ประสบเหตุคนอื่นๆ ได้ โดยติดต่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานีตำรวจใกล้บ้านหรือสถานี ตำรวจภายในชุมชนของตนเองหรืออาจโทรศัพท์ที่หมายเลขฉุกเฉินต่อไปนี้ (1) แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย โทรศัพท์ 191 (2) แจ้งเหตุศูนย์การควบคุมการจราจร โทรศัพท์ 197 (3) แจ้งเหตุเพลิงไหม้ โทรศัพท์ 199 (4) แจ้งเหตุ จส.100 โทรศัพท์ 1137 และ (5) แจ้งเหตุการป่วยหรืออุบัติเหตุฉุกเฉินโดยการแจ้งผ่านไปที่หน่วยงานกูชีพ นเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1669 หรือหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลวชิรพยาบาล โทรศัพท์ 1554 หรือศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ โทรศัพท์ 0-2255-1133 หรือมูลนิธีป่อเต็กตึ้ง โทรศัพท์ 0-2226-4444-8 หรือ มูลนิธิร่วมกตัญญูโทรศัพท์ 0-2249-6620 นอก จากนี้การแจ้งเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในเรื่องการบริโภคสามารถแจ้งไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แจ้งเหตุผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โทรศัพท์ 1556 และศูนย์ร้องเรียนผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โทรศัพท์ 1166
  2. กรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีภารกิจหลักในการจัดทำแผนแม่บทวางมาตรการส่งเสริม สนับสนุนการป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูหลังเกิดภัย โดยกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย สร้างระบบป้องกัน เตือนภัยและฟื้นฟูหลังเกิดภัย รวมถึงติดตามประเมินผล เพื่อให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน นักเรียน และบุคคลทั่วไปที่ต้องการปรึกษา และขอความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยสามารถติดต่อได้ที่กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โทรศัพท์ 0-2243-0020-27 หรือที่เว็บไซต์ http://www.disaster.go.th
                  3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน อุบัติภัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรัฐบาลสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจที่สำคัญคือเสนอนโยบายและแผนการป้องกันอุบัติภัย เป็นศูนย์ประสานงานด้านวิชาการ สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยและสาธารณภัย และเป็นศูนย์กลางข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับอุบัติภัยรวมทั้งมีหน้าที่รณรงค์ เผยแพร่งานป้องกันอุบัติภัยแก่ประชาชน นักเรียน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องความปลอดภัยต่างๆ สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์




ชุมชนปลอดภัย (Self Communities)
                        เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก  โดย ชุมชนที่จะเข้าร่วมในเครื่อข่ายชุมชนปลอดภัยนั้นอาจเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน จังหวัด หรืออื่นๆแต่ที่สำคัญ ชุมชนต้องแสดงความตั้งใจอย่างแท้จริงในการดำเนินงาน  โดยใช้หลัก  13 แนวทางชุมชนปลอดภัย  ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มต่างๆในชุมชนร่วมมือกัน..เพื่อผลระยะยาว
การ ดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บต้องมีจุดเริ่มมาจากความสนใจและความต้องการของคน ในชุมชนนั้นๆอย่างแท้จริงโดยที่คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งร่วมคิด  วางแผน  ทำงานและการติดตามผลการดำเนินงาน  ซึ่งเป็นในลักษณะการจัดตั้งกลุ่มพหุภาพ(Cross Sectorial Group) ในระดับชุมชน หมายถึง  การรวมตัวกันของกลุ่มประชาชนหรือกลุ่มองค์กรต่างๆที่มีอยู่แล้วในชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน  ผู้นำท้องถิ่น อสม. กลุ่มแม่บ้านฯลฯ  การดำเนินงานในระยะแรกเน้นการรวมตัวกันของกลุ่มพหุภาพ
2.  เชื่อมโยงหน่วยงานภายนอกร่วมแก้ปัญหา
การประสานงาน  คือ  กลยุทธ์สำคัญของความสำเร็จ  เริ่มจากชุมชนสร้างเครือข่ายในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคล  กลุ่มในชุมชนของตน เช่น คณะกรรมการชุมชน  กลุ่มครอบครัว ฯลฯ  ไปจนถึงการประสานงานกับองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น หน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค  งานสาธารณสุข  มูลนิธิ  สมาคมต่างๆ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน
3.  ชุมชนสนใจแก้ปัญหาการบาดเจ็บทุกรูปแบบ
กระบวนการจัดการกับปัญหาการบาดเจ็บและสร้างเสริมความปลอดภัยนั้นชุมชนต้องให้ความสนใจในการแก้ปัญหาการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ  เช่น การตกจากที่สูง  จมน้ำ  ไฟฟ้า ดูด ฯลฯและการบาดเจ็บโดยตั้งใจ เช่น เด็กถูกทำร้ายร่างกาย ฯลฯ ซึ่งต้องพิจารณาตามลำดับความสำคัญโดยวิเคราะห์จากสถิติและอุบัติการณ์ใน ชุมชน
4.  อย่าละเลยความเสี่ยง
ชุมชนให้ความสนในเป็นพิเศษกับกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กในครอบครัวยากจน  เด็กพิการ  เด็กเร่ร่อน ฯลฯ เด็กเหล่านี้มีภาวะความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูงกว่าเด็กทั่วไป  เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ศักยภาพของผู้ดูแลเด็ก รวมถึงข้อจำกัดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.  ชุมชนมีระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บที่ชัดเจน
มีการสร้างระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในชุมชน  โดยมีการบันทึกการบาดเจ็บ ประโยชน์ที่ได้จากการบันทึกมีดังนี้
            -  ชุมชนใช้การบันทึกในการประเมินขนาดของปัญหาในแบบต่างๆ
            -  ค้นหาสาเหตุของปัญหานั้นๆ  คือ ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บแบบต่างๆ
            -  ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานต่างๆของชุมชนในการป้องกันการบาดเจ็บ
            -  นำ เรื่องราวของการบาดเจ็บแต่ละรายมาเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า นำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการป้องกันการบาดเจ็บ
6.  มีระบบการเดินสำรวจความปลอดภัย
มีระบบการสำรวจความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเสี่ยง
            -  ลักษณะพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ผู้ปกครองขาดความระมัดระวังในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน  การเลือกซื้อของเล่นให้เด็ก  การขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมาฯลฯ
            -  ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม เช่น  มีสุนัขจรจัดหรือไม่  สนามเด็กเล่น  วัสดุ  อุปกรณ์  มีความปลอดภัยเพียงไร
7.  ต่อต้านพฤติกรรมเสี่ยงและผลิตภัณฑ์อันตราย
ชุมชนร่วมกันต่อต้านพฤติกรรมเสี่ยงและสิ่งแวดล้อมอันตราย ดังนี้
            -  ต่อต้านพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก  อันจะนำไปสู่การบาดเจ็บในเด็ก
            -  ต่อต้านผลิตภัณฑ์เสี่ยงและสิ่งแวดล้อมอันตรายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ
ซึ่งชุมชนต้องให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของอันตรายจากความเสี่ยงต่างๆและผนวกเข้ากับวิธีการป้องกันและแก้ไข
8.  ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย
ชุมชนมีการสนับสนุนการใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยต่างๆ เช่น หมวกกันน๊อค  ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กในรถยนต์  จักรยานยนต์  เครื่องตรวจจับควันไฟ ฯลฯ
9.  ชุมชนจัดการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้
ชุมชนมีกระบวนการฝึกอบรมที่เหมาะสมเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ในเรื่องของการป้องกันควบคุมการบาดเจ็บในเด็ก  วิธีการปฐมพยาบาลและการปฏิบัติการณ์กู้ชีพเบื้องต้น
10.  เตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน
มีการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชุมชน  ไม่ว่าจะเป็นอัคคีภัย  วาตภัย  อุบัติเหตุ  ซึ่งชุมชนต้องมีระบบการจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกะทันหัน เช่น  การรักษาพยาบาลฉุกเฉินในชุมชนและการส่งต่อ เป็นต้น
11.  ใช้ทรัพยากรของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถดำเนินการระยะยาวโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ปกติในชุมชน เช่น บุคลากร  งบ ประมาณฯลฯ ใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่องานสร้างเสริมความปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง เพราะในแต่ละชุมชนนั้นมีกระบวนการ ค่านิยม  ทัศนคติที่แตกต่างกัน
12.  มีตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
มีการประเมินภายในชุมชนโดยกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงาน  ซึ่ง อาจใช้เกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำที่เป็นเกณฑ์ชี้วัดความสามารถของการ ดูแลเด็กและครอบครัวหรือประเมินผลข้อมูลจากการสำรวจการบาดเจ็บและการเฝ้า ระวังการบาดเจ็บมาเป็นตัวชี้วัดของชุมชนเอง  รูปแบบตัวชี้วัดในชุมชน ได้แก่
            -  ด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น มลพิษ  สารเคมี แหล่งเสื่อมโทรม ฯลฯ
            -  ด้านผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น  การบาดเจ็บจากเครื่องเล่นที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานฯลฯ
            -  ด้านการป้องกันแก้ไข เช่น วิธีการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม  ให้ความรู้แก่คนในชุมชน การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ฯลฯ
13.  องค์ความรู้ชุมชน..สำคัญที่การปฏิบัติและขยายผล
มี การรวบรวมความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานภายในชุมชนเผยแพร่สู่ชุมชน อื่นเพื่อให้เกิดการขยายผลการดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัยซึ่งอาจใช้ เทคนิคการประชาสัมพันธ์เข้าช่วย เช่น การจัดประชุมชุมชนต่างๆ  การพูดในที่สาธารณะ  การจัดนิทรรศการหรือชุมชนประสานกับทางสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดการเข้าใจที่ตรงกันในวัตถุประสงค์ เกิดกระบวนการผลักดันเข้าสู่นโยบายระดับชาติต่อไป


การส่งเสริมความปลอดภัย เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากถึงแม้ว่าองค์กรนั้นจะมีการออกแบบ ด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี หรือผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง หรือขั้นตอนปฏิบัติงาน (Task Procedure)  จะปลอดภัยและได้บังคับใช้อย่างต่อเนื่องก็ตาม  การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญยิ่ง เพราะการป้องกันอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วย ความปลอดภัย  ผู้ปฏิบัติงานต้องอาศัยความคิดของตัวเองและต้องรักษาระเบียบวินัย เพื่อป้องกันตัวผู้ปฏิบัติงานเอง  พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานสามารถถูกกระตุ้นหรือบังคับให้เกิดได้ด้วยการส่ง เสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ


      แรงจูงใจภายใต้การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพ คือแนวคิดที่ว่าพฤติกรรมสามารถและควรจะเปลี่ยนแปลงได้  การส่งเสริมความปลอดภัยไม่ควรจะดำเนินการแต่เพียงผิวเผินด้วยการให้รางวัล ที่ไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น  แต่การส่งเสริมความปลอดภัยควรจะถูกจัดการและมุ่งหวังผลการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่ต้องการให้ได้  ระบบการส่งเสริมที่มั่นคง เฉพาะเจาะจง เข้มข้น และที่ได้วางแผนเป็นอย่างดี คือรากฐานภายใต้ความสำคัญที่ว่า

  • จิตสำนึกใดที่ต้องใส่ใจ ต้องพิจารณา
    (What the mind attends to, it considers)
  • จิตสำนึกใดที่ไม่ต้องใส่ใจ, ให้ยกเลิกไป
    (What the mind dose not attend to, it dismisses)
  • จิตสำนึกใดที่ใส่ใจกระทำอยู่เสมอ มันเป็นความเชื่อ
    (What the mind attends to regularly, it believes)
  • จิตสำนึกใดที่เป็นความเชื่อ มันจะแสดงออกที่การกระทำ
    (What the mind believes, it eventually does)
  • จิตสำนึกใดที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ มันจะกลายเป็นนิสัย
    (What the mind does regularly becomes habitual)
การเริ่มต้นการส่งเสริมความปลอดภัยนั้น ผู้นำควรจะ
  • ชี้บ่งพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ ซึ่งปรากฏอยู่อย่างเด่นชัด
  • วางแผนและจัดระบบสำหรับกลยุทธ์ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยแรงกระตุ้นเชิงบวก (Positive reinforement)
  • กำหนดระบบการติดตามเพื่อวิเคราะห์เมื่อพฤติกรรมได้เปลี่ยนแปลงแล้วว่าได้เปลี่ยนแปลงอย่างไรและจะมีลักษณะนิสัย (Habit) ใหม่อย่างไร
  • วางแผนและจัดระบบสำหรับกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ในการส่งเสริมครั้งต่อๆ ไป
     
http://www.shawpat.or.th/pictures2/bullet_139.gifการดำเนินการส่งเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
การส่งเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมีมากมายหลายแบบ  โปรแกรมการส่งเสริมโดยทั่วไปจะมีระดับดังนี้
  • ความตระหนัก (Awareness)
  • การยอมรับ  (Acceptance)
  • การปฏิบัติ (Application) และ
  • การรับไว้ (Assimilation)
1. ความตระหนัก (Awareness)
      การตระหนักจะเป็นการกระตุ้นความสนใจในโปรแกรมความ ปลอดภัยด้วยการออกแบบให้ เกิดความสนใจของบุคคลต่อโปรแกรมความปลอดภัยว่า คิดอะไร และจะทำอะไร  วัตถุประสงค์ของการตระหนักก็คือ การทำให้บุคคลจำนวนมากที่สุด คิดและพูดถึงความปลอดภัย

      กิจกรรมที่ให้เกิดการตระหนัก ควรจะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่มีอยู่และการสัมผัส (Exposure) ของแต่ละองค์กร และของแต่ละประเภทการปฏิบัติการ (Type of Operation) ทางเลือกของเครื่องมือและวิธีการในการส่งเสริมมีมากมายหลายแบบในราคาของการ ดำเนินการที่ต่ำ(ดูรูปที่1เป็นตัวอย่าง)การพิจารณารูปแบบจะขึ้นอยู่กับ นโยบายของบริษัท การสัมผัสที่เฉพาะเจาะจง (Specific Exposure)  ความสูญเสียที่เคยเกิดขึ้น และตัวผู้ปฏิบัติงาน เช่น ระดับความชำนาญ (Skill Level)  พื้นฐานด้านเทคนิค และระยะเวลาของประสบการณ์ในงานนั้น  องค์กรควรเลือกการส่งเสริมที่ตรงกับปัญหาวิกฤต (Critical Problems)  และตรงเป้าหมายของปัญหาเฉพาะของหน่วยงาน

      เป็นความเข้าใจผิดที่หน่วยงานมักคิดว่าการตระหนักคือโปรแกรมการส่งเสริมที่ สำคัญที่สุด  ความจริงแล้วการตระหนักเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่ที่มีความยาว และต่อเนื่องกัน  การส่งเสริมการตระหนักจะต้องเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่อง  โดยที่อาจมีเวลาที่ชัดเจนเมื่อการตระหนักได้รับการกระตุ้นอย่างเพียงพอและมี กิจกรรมที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ

      การเปลี่ยนแปลงความสนใจในความปลอดภัยไปสู่นิสัย (Habit) ของ พฤติกรรมความปลอดภัยต้องการความพยายามอย่างต่อเนื่อง โดยที่มันจะเริ่มต้นจากการตระหนักจนกระทั่งบุคคลส่วนใหญ่พร้อมสำหรับระดับ ต่อไป คือการยอมรับ (Acceptance)
2. การยอมรับ (Acceptance)
      การยอมรับเริ่มต้นเมื่อผู้ปฏิบัติงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับโปรแกรมความปลอดภัย และโปรแกรมนี้ส่งผลต่อตัวเองอย่างชัดเจน  การชี้วัดผู้ปฏิบัติงานด้วยเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโปรแกรมความปลอดภัย จะนำผู้ปฏิบัติงานไปสู่ระดับต่อไปของความปลอดภัย

      การส่งเสริมความปลอดภัย  จะมีความน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อผู้บริหารแสดงพันธะสัญญา (Commitment) ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี    การแสดงพันธะสัญญาอาจกระทำด้วยนโยบายที่เด่นชัด โปรแกรมการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ  การฝึกอบรมเกี่ยวกับงานที่ทำ     ตลอดจนการค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุ และหลักฐานอื่นๆ ที่ปรากฏอย่างเด่นชัด จากการอุทิศตนของผู้บริหาร   ภาพ ที่ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นพันธะสัญญาของผู้บริหารจะมีผลเป็นอย่างสูงต่อ พฤติกรรมผู้ปฏิบัติงาน ต่องาน และความตั้งใจที่จะเรียนรู้จากการส่งเสริมความปลอดภัย  กล่าว โดยสรุปก็คือ การสื่อข่าวสารความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ การใช้เทคนิค การส่งเสริมที่ประสบความสำเร็จ จะขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้ปฏิบัติงานต่อความสนใจจริงและการมีส่วนร่วมต่อ ความปลอดภัยของผู้บริหาร


3. การปฏิบัติ (Application)
      การปฏิบัติ คือ ระดับที่ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมต่อโปรแกรมความปลอดภัย  ด้วยการมีกิจกรรม และมีส่วนร่วมในทีมและคณะกรรมการความปลอดภัย (Safety teams and committees) และการนำเสนอความคิดเห็นของเขาผ่านระบบข้อเสนอแนะ  นี่คือระดับที่บุคคลเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Lean by doing) และ ได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในด้านความปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยมืออาชีพเชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนร่วมใน โปรแกรมความปลอดภัยมีผลต่อสถิติความปลอดภัย  ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Attitude) และมีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจวิธีการที่พวกเขาได้รับจากการมีสติด้าน ความปลอดภัย (Safety Concious)

      การประกวด (Contest) ที่ต้องการให้บุคคลเรียนรู้ กระทำ หรือจดจำบางสิ่งสำหรับความปลอดภัย สามารถเป็นเครื่องมือส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพได้  การประกวดจะช่วยรักษาระดับความสนใจให้สูงตลอดเวลา และยังช่วยให้ทุกคนสนใจจริงต่อความวิกฤติ (Critical Areas) ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา  บทบาทของผู้นำสามารถกระทำได้หลายอย่างเพื่อให้การประกวดประสบความสำเร็จ เช่น
• ให้ข้อมูลที่ดีพอต่อลักษณะการประกวดและกฎที่เกี่ยวข้อง
• ให้และเก็บข้อมูล หรือวัสดุที่ต้องการตรงตามเวลา
• กระตุ้นบุคคลให้อ่านและมีส่วนร่วมต่อการประกวด
• ป้องกันการบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย
• สอบถามข้อเสนอแนะและความต้องการในการส่งเสริม
• นำความคิดของกลุ่มมาใช้ในการประกวด
4. การรับไว้สำหรับนิสัยใหม่ (Assimilation of New habit)
      การรับไว้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อทัศนคติความปลอดภัยติด แน่นในความรู้สึกนึกคิด ของบุคคล มีคุณค่า และเกิดการปฏิบัติ ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากนิสัยของพฤติกรรมความปลอดภัย ในระดับนี้ถือว่างานส่งเสริมความปลอดภัยต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมประสบความ สำเร็จและถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงการส่งเสริมในเรื่องใหม่
               


      การ มุ่งเน้นไปที่ระดับใดระดับหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวโดยละเลยอีกสามระดับ ที่เหลือ จะเป็นสาเหตุให้โปรแกรมการส่งเสริมล้มเหลวได้ ดังนั้นทั้งสี่ระดับจะต้องถูกพัฒนา ถึงแม้ว่าจะมีเพียงระดับเดียวที่ถูกเน้นให้เกิดในช่วงระยะเวลาใดก็ตาม  ดังนั้นการส่งเสริมความปลอดภัยจึงเป็นกระบวนการปฏิรูปผสมผสานทั้ง 4 A ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

แนวทางสำหรับการส่งเสริมความปลอดภัยให้ประสบความสำเร็จ
      ในอุตสาหกรรมที่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ดีพบว่า  กิจกรรมการส่งเสริมที่ประสบ
ความ สำเร็จจะช่วยเพิ่มการตระหนัก (Awareness) ของเรื่องที่ต้องการและมีผลต่อทัศนคติซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้   กิจกรรม ส่งเสริมด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยมีรูปแบบที่หลายหลาย และกว้างขวางมาก ถึงแม้ว่ารูปแบบและวิธีการอาจแตกต่างกัน แต่ก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ เพื่อเพิ่มและเสริมให้เกิดการตระหนักด้านความปลอดภัย และปรับทัศนคติซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แนวทางต่างๆ ต่อไปนี้คือตัวอย่างของความสำเร็จที่เคยปฏิบัติแล้ว และได้ผลดีเป็นอย่างมาก คือ
1.            การผสมผสานกิจกรรมการส่งเสริมทั่วไปเข้ากับองค์ประกอบของระบบการบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสีย  การติดโปสเตอร์ การประกวด และโปรแกรมการส่งเสริมที่เกี่ยวข้องกัน คือหนึ่งในองค์ประกอบของระบบบริหารความปลอดภัย  กิจกรรมการนิเทศความปลอดภัย (Safety oriented activities) เพื่อสร้างการตระหนักให้มากขึ้น จะต้องกระทำควบคู่ไปกับองค์ประกอบการควบคุมความสูญเสียอื่นๆ
2.            ให้ความสำคัญกับข่าวสารด้านสาเหตุของอุบัติเหตุเฉพาะ (Specific accident causes) และการป้องกัน (preventive actions)  ข่าวสารทั่วๆ ไป เช่น ต้องปลอดภัย (be safety) ขับรถให้ปลอดภัย (drive safety)  หรือเพิ่มความระมัดระวัง อาจไม่ชัดเจน และมีประโยชน์ค่อนข้างน้อย แต่ข่าวสารเฉพาะ เช่น “  ยกย่อเข่าเพื่อป้องกันหลังของคุณ”  จะมีประโยชน์มากกว่า
3.            กำหนดเป้าหมายการส่งเสริมที่เฉพาะเจาะจง  มีการออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมทั่วไป เพื่อ
3.1 สร้างการตระหนักให้สอดคล้องกับปัญหาความปลอดภัยของหน่วยงาน
3.2 เพิ่มการยอมรับให้สอดคล้องกับปัจจัยด้านความปลอดภัยที่เฉพาะเจาะจง
3.3 เพิ่มการปฏิบัติของพฤติกรรมที่ปลอดภัยที่เฉพาะเจาะจง และ
3.4 กระตุ้นการกลมกลืนสู่การปฏิบัติของนิสัยการทำงานที่ปลอดภัยที่เฉพาะเจาะจง
4.            เพิ่มความเข้มข้นด้วยความหลายหลาย  ใช้เครื่องมือในการส่งเสริมให้หลากหลาย  การใช้บอร์ดข่าวสารคือวิธีการที่มักจะใช้และมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความ ปลอดภัยทั่วไป  สถานที่ที่เหมาะสมที่สุด คือ ในหรือใกล้ๆ กับห้องเก็บของส่วนตัว (Locker room) ห้องอาหาร หรือจุดที่มีการพักระหว่างการทำงาน  เนื่องจากสถานที่เหล่านี้จะอนุญาตให้ผู้ปฏิบัติงานพักผ่อนและใช้เวลาสั้นๆ กับการอ่านข่าวสารบนบอร์ดข่าวสาร  โอกาสในการอ่านข่าวสารจะลดลง ถ้าติดบอร์ดข่าวสารบริเวณทางออกของอาคาร

       พื้นที่หลักของการทำงานควรจะมีบอร์ดข่าวสารเป็นของตัวเอง  การใช้โปสเตอร์ข่าวสารที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องความปลอดภัยในปัจจุบันจะ สามารถช่วยให้การส่งเสริมมีอิทธิพลมากขึ้น  ผล ความสำเร็จจะบรรลุได้ก็ต่อเมื่อโปสเตอร์มีความน่าสนใจ ชี้เฉพาะเจาะจงต่อปัญหา และสามารถบอกผู้อ่านได้ว่าควรจะทำอะไร หลีกเลี่ยงอะไร จะป้องกันและแก้ในปัญหาได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ข่าวสารบนบอร์ดจะต้องเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ที่สมเหตุสมผล

       สถิติอุบัติเหตุของหน่วยงานหรือของบริษัท สามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมความสนใจในโปรแกรมความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามความสำเร็จต่างๆ จะบรรลุหรือไม่ต้องขึ้นกับการประกวด และการให้รางวัลเพื่อจะกระตุ้นบุคคลให้เรียนรู้ (Learn) และทำ (do) หรือจดจำ (remember)  บางสิ่งเกี่ยวกับความปลอดภัย ในขณะที่สถิติอุบัติเหตุของแต่ละกลุ่มงานสามารถนำมาใช้ในการกระตุ้นความสนใจ ในโปรแกรม  แต่การประกวดระหว่างหน่วยงานด้วยสถิติอุบัติเหตุแต่เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่แนะนำให้กระทำ  ทั้งนี้เนื่องจากว่าระดับของอันตรายที่หน่วยงานสัมผัสอยู่จะมีความแตกต่าง กัน  ดังนั้นการเปรียบเทียบกันระหว่างหน่วยงานด้วยสถิติอุบัติเหตุนั้น   ไม่ยุติธรรม และอาจเกิดการต่อต้าน

      การใช้สถิติอุบัติเหตุแต่เพียงอย่างเดียวอาจทำให้เกิดการไม่ยอมรายงานการ เกิดอุบัติเหตุ  ซึ่งจะส่งผลต่อการได้มาของข้อมูลด้านอุบัติเหตุที่ต้องการได้

      เนื้อหาของการส่งเสริมจะต้องมีผลโดยตรงต่อปัญหาเฉพาะ เจาะจงที่กำลังเผชิญ อยู่ เช่น การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน การปฏิบัติตามกฎที่สำคัญ การหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุบางประเภท เป็นต้น  เรื่องที่จะรณรงค์ ควรจะเปลี่ยนแปลงให้บ่อยครั้งในแต่ละปี และมีการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหาร และประธานในการรณรงค์ในแต่ละเรื่อง

      จดหมายข่าวของบริษัท (Company newsletters)  ข่าวสาร (bulletins) วารสาร (magazines) และส่งสิ่งพิมพ์อื่นๆ (other publications)  สามารถ นำมาใช้ในการกระตุ้นความสนใจในโปรแกรมความปลอดภัยได้ และยังเป็นการเพิ่มความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับเหตุผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ปลอดภัย  การส่งสิ่งพิมพ์เหล่านี้ไปยังบ้านของผู้ปฏิบัติงาน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความปลอดภัยนอกงาน และภายในครอบครัว (off the job and family safety) ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ปลอดภัยวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง โดยเกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของครอบครัว
5.            การรณรงค์ของบริษัทและโปรแกรมต่างๆ    การเน้นที่สำคัญต่อปัญหาวิกฤติความปลอดภัย จะต้องยาวนานพอที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต่อเนื่อง  ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือน  ในการรณรงค์แต่ละเรื่อง จะต้องมีทีมงานที่รับผิดชอบ มีผู้บริหารระดับที่สูงขึ้นไป มาร่วมให้ความคิดเห็น  และมีสมาชิกของทีมรณรงค์มาจากหลายระดับขององค์กร  ทีมงานนี้จะต้องออกแบบและเป็นผู้จัดการการรณรงค์ ซึ่งอาจใช้วิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้
• การสนทนาความปลอดภัย (Safety talks)
• การส่งแผ่นพับ
• โปสเตอร์
• ป้ายโฆษณา (Banner buttons and badges)
• การสังเกตพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
• นิทรรศการ
• การตรวจสอบหรือตรวจเยี่ยมพิเศษ
• การประกวด
• การแข่งขัน
• ภาพถ่าย สไลด์ ภาพยนตร์ และวีดีโอ
• การใช้แบบสอบถาม
• ข่าวสารความปลอดภัย วารสาร และจดหมายข่าว
การมีบุคคลจากหลากหลายรูปแบบในแต่ละทีม  จะทำให้สมาชิกซึ่งเป็นผู้บริหาร
ทุก คนมีส่วนร่วมในระบบการบริหารความสูญเสีย  การปฏิบัติเหล่านี้เปรียบเสมือนการที่ผู้บริหารแสดงให้เห็นถึงพันธะสัญญา (Commitment) ด้านความปลอดภัยของเขาต่อผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด
6.            เน้นเชิงบวก (Accentuate the Positive)  กิจกรรมการส่งเสริมที่เน้นให้ทำอะไร (what to do) จะทำให้ขบวนการด้านความปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

      กิจกรรมข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัย เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นในเชิงบวกได้เป็นอย่างดี  ด้วยการวางแผน, การจัดองค์กร, การประชาสัมพันธ์ และการติดตามที่เหมาะสม  โปรแกรมต่างๆ เหล่านี้สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความคิดที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของ เขา  วิธี การที่ปฏิบัติได้ในการควบคุมอันตรายสามารถเกิดขึ้นจากผู้ปฏิบัติงาน และการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดจะนำไปสู่ทัศนคติในเชิงบวกต่อการรณรงค์ด้าน ความปลอดภัยต่อไป

      การให้รางวัลและประกาศเกียรติคุณ สามารถส่งเสริมความสนใจในกระบวนการความปลอดภัยได้  กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการยอมรับจากทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน  โดยการให้รางวัลอาจขึ้นกับข้อเสนอแนะในโปรแกรมความปลอดภัย, ความรู้เกี่ยวกับกฎ, การเรียนรู้จากข่าวสารความปลอดภัย หรือความสะอาดเป็นระเบียบ  รางวัล ที่มีราคาไม่แพง สามารถกระตุ้นในเชิงบวกได้เท่าๆ กับรางวัลที่มีราคาแพง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจริงใจ ความพึงพอใจ และความยอมรับของทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน  ของ ขวัญที่มีราคาแพงจะส่งผลเสียต่อการส่งเสริมเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อให้ได้รางวัล และจะต่อต้านเมื่อไม่มีการให้รางวัล  การให้รางวัลหรือประกาศเกียรติคุณสำหรับผู้บริหาร ควรขึ้นกับสมรรถนะ (performance) ต่อกิจกรรมด้านความปลอดภัย เช่น กิจกรรมการบริหารงานเพื่อความปลอดภัย

       ควรจะมีการจัดพิธีมอบรางวัลซึ่งสามารถสื่อสารถึง ความสำคัญของรางวัล เช่น ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้มอบรางวัลให้ผู้รับด้วยตัวเองในพิธีการที่เหมาะสม  จะ เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าจะเชิญครอบครัวของผู้ได้รับรางวัล หรือผู้ร่วมงานและผู้บริหารระดับสูงตลอดจนผู้นำชุมชนในบริเวณใกล้เคียงมา ร่วมงานด้วย  ควรจะมีการถ่ายภาพและประชาสัมพันธ์งานด้วย

       องค์กรระหว่างประเทศหรือท้องถิ่นด้านความปลอดภัย  บริษัทหรือบริษัทประกันส่วนใหญ่จะมีรางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่สามารถช่วย ชีวิตผู้อื่น  หรือเป็นผู้นำด้านโปรแกรมความปลอดภัย หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม หรือปฏิบัติงานโดยไม่เกิดอุบัติเหตุในระยะเวลาหนึ่ง  รางวัลต่างๆ เหล่านี้มีอยู่แล้ว  ดังนั้นการส่งผู้ปฏิบัติงานเข้าประกวด จะเป็นวิธีการที่ไม่แพงและง่ายมาก

       การประกาศเกียรติคุณสำหรับกลุ่มงาน (แต่ละแผนก หรือฝ่าย)  ซึ่งปฏิบัติตามมาตรฐานของโปรแกรมจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะกระตุ้นโปรแกรมการ ควบคุมความสูญเสีย  การส่งเสริมเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพมากสุด เมื่อให้ความสำคัญกับสมรรถนะ (performance) ของการเรียนรู้, การกระทำและการจดจำมากกว่าการปฏิบัติงานโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ  องค์กรอาจจัดให้มีการรณรงค์ส่งเสริมการส่งข้อเสนอแนะ, การสังเกตการทำงานเฉพาะจุด (Spot Observation), การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ที่กำหนด, การจัดให้มีการสนทนาความปลอดภัย, การรายงานเหตุการณ์เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ, การปฏิบัติตามกฎ, การตระหนักถึงกฎเฉพาะงาน หรือดัชนีชี้วัดสมรรถนะอื่นๆ
7.            การส่งเสริมบริเวณที่ต้องการการควบคุมปัญหาเฉพาะจุด (Practice “point-of-control” Promotion)  จากการศึกษาพบว่าการใช้โปสเตอร์จะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อติดที่จุดของปัญหา  ตัวอย่างเช่น โปสเตอร์เตือนให้บุคคลจับราว (handrails) สำหรับบันไดควรตัดบริเวณที่บุคคลจะขึ้นหรือลงบันได เหมือนกับอุปกรณ์ช่วยงาน (job aids) เช่น MSDS หรือแบบเช็คลิสต์งานวิกฤต (Critical Task Checklist) และขั้นตอนปฏิบัติงานวิกฤตก็ต้องติดบริเวณที่จะปฏิบัติงาน เป็นต้น
8.            การยึดหลักการส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพบนหลักการของการป้องกัน (Use proven principle for effective promotion)  ซึ่งจะมี 5 ข้อ ดังนี้

    -หลักการของการให้ข้อมูลข่าวสาร (Principle of Information) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มการจูงใจ
    -หลักการของการมีส่วนร่วม (Principle of Involvement การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายจะเพิ่มการจูงใจและการสนับสนุน
    -หลักการของการตอบสนองซึ่งกันและกัน (Principles of Mutual Interest) โปรแกรม โครงการ ความคิดต่างๆ จะเป็นจุดขายที่ดี  ถ้าเป็นสิ่งที่เชื่อมความพึงพอใจของทั้งองค์กรและผู้ปฏิบัติงาน
    -หลักการของการเติมเสริมพฤติกรรม (Principles of Beharior Deinforement)  พฤติกรรมเชิงบวกมีแนวโน้มที่จะต่อเนื่องหรือเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับการส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ
    -หลักการของการกระทำซ้ำๆ (Principle of Repetition)        ยิ่งให้ได้รับข้อมูลบ่อยเท่าไร ยิ่งทำให้เกิดความจดจำได้มากขึ้นเท่านั้น
9.            การมุ่งเน้นที่ปัญหาวิกฤต (Focus on critical Problem) การออกแบบกิจกรรมและการเลือกวิธีการในการส่งเสริม ต้องเฉพาะเจาะจงต่อปัญหาวิกฤตเฉพาะของหน่วยงาน  ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ ประวัติหรือศักยภาพของความสูญเสียหลัก (Potential of major loss) การรณรงค์ควรจะบ่งชี้ปัญหาให้ชัดเจน และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น  ความพยายามในการส่งเสริม ควรจะ สอดคล้องตรงกับปัญหาที่มีโอกาสอย่างมากในการเพิ่มการตระหนักและปรับปรุง พฤติกรรมในการป้องกันแบบเดียวกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
10.    ประเมินผลการส่งเสริม (Evaluate promotion results) กระตุ้นให้เกิดการสะท้อนกลับ (Encourage feedback) ค้นให้พบว่าบุคคลให้ความสนใจกับอะไร, อะไรที่เขาจดจำได้ และเขาได้ประยุกต์ข่าวสารในการปฏิบัติอย่างไร  การติดต่อเป็นส่วนตัว (personal contact) การประชุมกลุ่ม (group discussions) การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสังเกตเฉพาะจุด การวิเคราะห์จากบันทึก การทดสอบ การคิดค้นทัศนคติ (attitude inventories) และสุ่มตัวอย่าง สามารถได้ข้อมูลสะท้อนกลับได้ (Feedback) หยุด หรือเปลี่ยนกิจกรรมที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่มีประสิทธิภาพ และใช้เทคนิคที่เกิดประโยชน์สูงสุดให้บ่อยเท่าที่ต้องการ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง

      ในการประยุกต์ใช้วิธีการทั้ง 10 วิธีข้างต้นนี้จะต้องหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่มากจนเกินไป  ห้ามส่งเสริมในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง และต้องจริงใจ (be honest) ในท้ายที่สุดพึงจดจำไว้เสมอว่าสองคำของการส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพคือ ง่ายๆ และซ้ำๆ (simplify and repeat) ง่ายๆ และซ้ำๆ  ง่ายๆ และซ้ำๆ
http://www.shawpat.or.th/pictures2/bullet_139.gifบทสรุป (Conclusion)
       การสร้างความตระหนักที่ตรงกับหัวข้อที่ต้องการและทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรม สามารถสร้างได้โดยกิจกรรมการส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพ  ถึง แม้จะมีวิธีการที่หลายหลาย แต่วัตถุประสงค์จะต้องชัดเจนเหมือนเดิม คือ เพื่อเพิ่มการควบคุมความสูญเสีย ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ด้วยการส่งเสริมจะขึ้นอยู่กับการใช้กิจกรรมที่ หลากหลายอย่างเหมาะสม และเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างแท้จริง


การสร้างเสริมความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

     ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บใน เด็กTraining Educating Advancing Collaboration in Health on Violence and Injury Prevention เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคม กลุ่มเด็กยากจน, เทคโนโลยี, สุขภาวะเด็กที่เกี่ยวข้องกับสังคมมากมาย ในปี 2008 พบว่าจำนวนเด็กตายปีละล้านคนด้วยอุบัติเหตุและความรุนแรง ครึ่งหนึ่งของเด็กตายเป็นเด็กแถบ ทวีป South East Asia ส่วนในประเทศไทยตาย 3,000 คน   อันดับ 1. จมน้ำ 1,500 ราย  อันดับ 2. จราจร 700-800 ราย (จากการเดินถนน, มอเตอร์ไซด์)
สาเหตุการตายในเด็กเนื่องมาจาก
-       ปัจจัยทางร่างกาย  เด็กมีความเสี่ยงเนื่องจาก ศีรษะใหญ่ประมาณ 60% ของ ร่างกาย รอยต่อของกะโหลกศีรษะยังไม่ปิด เกิดเลือดออกง่าย กระดูกต้นคอหักง่ายเนื่องจากหัวหนัก กระดูกซี่โครงหักง่าย เลือดออกในปอดง่าย ปกติในเด็กเล็กตับม้ามแล่บออกมา ทำให้ตับแตกม้ามแตกได้ง่าย
-       ด้านพัฒนาการเรื่องการเรียนรู้ เด็กเริ่มเสี่ยงตั้งแต่อายุ 6 เดือน เพราะเด็กเริ่มมีการเคลื่อนไหว     ในเด็กวัย 1 ปี เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะเด็กเริ่มเรียนรู้สิ่งแวดล้อมได้เอง พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กค่อนข้างดี แต่ไม่รู้จักการระวังภัยด้วยตัวเอง และ เมื่อ 1 ปีครึ่ง เด็กเริ่มรู้บางเรื่องที่ผู้ใหญ่บอก แต่ยังขาดประสบการณ์ ทำให้เกิดการตายในช่วงวัยนี้มาก พบว่า เด็กตายในช่วงอายุ น้อยกว่า 6 ปีกับช่วงวัยรุ่นมาก ในช่วงวัยเรียนไม่ค่อยเสี่ยง
-       ปัจจัยทางสังคม  ต้องดูว่าครอบครัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมเสี่ยงหรือไม่ เศรษฐานะต่ำพบว่าเสี่ยงมากกว่าครอบครัวที่เศรษฐานะดี  ขนบ ธรรมเนียมวัฒนธรรมของชุมชนแต่ละชุมชน  การดูแลของครอบครัว ระบบเศรษฐกิจของครอบครัว สื่อที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค บรรทัดฐานของสังคม 
การนำไปสู่แนวทางการแก้ไข สร้างความคิดและความตระหนัก สร้าง Empowerment community ทำ ให้ชุมชนในการวิเคราะห์ถึงปัญหาการตายในเด็ก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมลดความเสี่ยง ประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นให้มีการเชื่อมโยงภาครัฐ ชุมชน และ policy เข้า ด้วยกันโดยการผ่านสื่อในการกระตุ้น การแก้ไขปัญหาเป็นทีมสหวิชาชีพ และแก้ไขปัญหาพร้อมกัน กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของชุมชนและสังคมที่เด็กและเยาวชนอาศัย
ศูนย์ เด็กเล็กปลอดภัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดการตาย พิการและการบาดเจ็บของเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ส่งเสริมความปลอดภัย ความเสมอภาของเด็กในการเจริญเติบโต และโอกาสของการได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการที่ดี เชื่อมโยงเครือข่ายการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความปลอดภัยในศูนย์เด็กเล็ก  โดยมีมาตรฐานการดำเนินความปลอดภัย 6 ด้าน ในเรื่องของอาคารทั้งภายในและภายนอก ผลิตภัณฑ์  การ เดินทาง ระบบป้องกันภัยจากบุคคล ระบบฉุกเฉิน และความปลอดภัยในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ ประเมินความเสี่ยงของกิจกรรม  จัดการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัย
ซึ่ง ขั้นตอนการดำเนินงานโดยวิธีจัดตั้งกลุ่มดำเนินงาน มีเครื่องมือ ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ เช่น มีแบบบันทึกการบาดเจ็บรายบุคคล บันทึกการเดินสำรวจจุดเสี่ยงในศูนย์ เพื่อดำเนินการแก้ไข
โครงการ โรงเรียนปลอดภัย มีกลุ่มความปลอดภัยซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหาร ครู บุคลากร เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน และมีวิธีเครื่องมือค้นหาปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียนทั้งเรื่องอุบัติเหตุ ความรุนแรง โรงเรียนมีแผนมาตรการ และนโยบายจัดการความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุและความรุนแรงที่ชัดเจน  มีกระบวนการดำเนินงานโดยสร้างระบบความปลอดภัย 6 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมกายภาพปลอดภัย ระบบคุ้มครองภัยจากบุคคล เดินทางปลอดภัย ความปลอดภัยในการเรียนการสอน หลักสูตรปลอดภัย ความพร้อมด้านฉุกเฉินและภัยพิบัติในโรงเรียน โดยมีการสำรวจและประเมินจุดเสี่ยงของโรงเรียน แบบบันทึกการบาดเจ็บบริเวณรอบโรงเรียน  จากการศึกษาอุบัติเหตุในโรงเรียนพบว่า การบาดเจ็บมักเกิดขึ้นในเด็กกลุ่มอายุ 5-9 ปี เป็นนักเรียนชายมากกว่าหญิง ส่วนใหญ่เกิดจากการพลัดตกหกล้ม ลักษณะบาดแผลเป็นบาดแผลถลอก และฉีกขาด สถานที่เกิดการบาดเจ็บคือในห้องเรียน  สร้างคู่มือแนวทางความปลอดภัยในเด็ก
ชุมชน ปลอดภัย คือ การดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน โดยมุ่งเน้นในการสร้างพฤติกรรมปลอดภัยและไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ทั้งส่วนบุคคลและส่วนร่วมและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ทั่งเชิงกายภาพ เทคโนโลยี การจัดการโดยมีตัวชี้วัดในเรื่องก ารสร้างการมีส่วนร่วมของคนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เชื่อโยงองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย  ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกลุ่มคนและสิ่งแวดล้อม เช่น เด็กพิการด้อยโอกาส โครงการโรงเรียนปลอดภัย  มองให้เห็นได้ทั้งขนาดและสาเหตุของปัญหา การบาดเจ็บ เน้นเอกสารการบันทึก เฝ้าระวัง บันทึกจุดเสี่ยง มีการสำรวจอย่างต่อเนื่อง  ประเมินผลได้ทั้งผลดำเนินงานและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ชุมชน  เรียน รู้และดำเนินการโดยชุมชนใดชุมชนหนึ่ง องค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปเป็นแบบอย่างแก่ชุมชนอื่น และชักนำให้เกิดนโยบายที่สำคัญในระดับชาติได้
Injury prevention (การบาดเจ็บ) มีทั้ง ตั้งใจ เช่น ความรุนแรงทางสังคม และไม่ตั้งใจ เช่น อุบัติเหตุ ซึ่งจะเน้นในเรื่อง
-       Safety promotion กลุ่มเป้าหมาย 0-14 ปี โดยทำเพื่อเน้นตามกระแสสังคม
-       Safety environment วัฒนธรรม ความปลอดภัยของชุมชน ทางกายภาพ เทคโนโลยี ระบบการเมืองการปกครอง เรื่องเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนในชุมชน องค์กร
-       Safety behavior
ปัจจัย ทำไมเด็กจึงเกิดอุบัติเหตุ เพศ อายุ พัฒนาการ สายตาการได้ยิน ครอบครัว ปัจจัยสิ่งแวดล้อม พฤติกรรม ทัศนคติในเรื่อง safety เด็กพิการและภาวะโรคประจำตัว อื่นๆ  กระบวนการสำคัญของชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน เยาวชน
1.            Community organization กลุ่มแกนหลัก เช่น อบต. หา Key man ต้อง มีกลุ่มแกนหลัก สร้างความมั่นใจเชื่อใจร่วมกัน ร่วมกันบริหารจัดการปัญหา การจัดการประกอบด้วย เครื่องมือ มีเองหาได้ วิธีการ เช่นการประชุม เงิน เพื่อกระตุ้น
2.            Community development ไม่ได้เริ่มมาจากศูนย์พัฒนาจาทุนทางสังคมเริ่มมาจากฐานข้อมูล หากุญแจหลัก จัดการกับปัญหา หางานเด่นของตน แล้วส่งต่อให้กลุ่มอื่น
3.            Community mobilization ส่งต่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
4.            Community empowerment การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เกิดการรักชุมชน
กลไกขับเคลื่อนองค์กร CDD( child death deliberation) เครื่องมือเพื่อสร้างความเข้าใจถึงเหตุและปัจจัยการเสียชีวิต ของเด็กจากอุบัติเหตุและความรุนแรงอย่าเป็นระบบโดยเก็บข้อมูล 4 ด้าน ( ครอบครัว, เหตุนำไปสู่การเสียชีวิต, ข้อมูลตำรวจ, ข้อมูล ทางการแพทย์ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล) วิเคราะห์ข้อมูล(ค้นหาเหตุนำการเสียชีวิต) แนวทางแก้ไขป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ
ขบวนการ  เมื่อเด็กเสียชีวิต เข้าสู่กระบวนการ CDD พิเคราะห์ สหวิชาชีพ เครื่อข่ายความร่วมมือ ขับเคลื่อนนโยบาย นำไปสู่แนวทางการป้องกันการเสียชีวิตของเด็กรายอื่น  พิเคราะห์ การเก็บข้อมูล เหตุการณ์ตายของเด็กจากเหตุภายนอกเข้าลึกอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยทีมสห วิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญ เช่น อัยการ, แพทย์นิติเวช, กุมารแพทย์, นักจิตวิทยา, นักสังคมเป็นต้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเช่น ตำรวจ อบต. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานที่ทำของเล่น, กระทรวงอุตสาหกรรม, สบข

      คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ

    คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจเพื่อกิจธุระต่างๆ เช่น
การแจ้งความต่าง ๆ
การขออนุญาตต่าง ๆ
การยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหา

การแจ้งความต่าง ๆ
เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เมื่อท่านไปติดต่อที่
โรงพักท่านควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ

๑. บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบแทนฯ หรือ
๒. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ
๓. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
๔. หนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ
๕. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่น ให้นำหลักฐานต่างๆ ดังนี้
   ติดตัวไปด้วย
   ๕.๑ ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์
   ๕.๒ ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)
   ๕.๓ ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ให้ท่านนำ
       หลักฐานซึ่งแสดงว่าท่านเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน หรือสามีหรือภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียนสมรส)
       สูติบัตร,ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
   ๕.๔ ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีหรือภรรยา แล้วแต่กรณี ให้ร้องทุกข์แทนหรือเป็น
       ตัวแทนโดยสมบูรณ์
   ๕.๕ ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ
       ๕.๕.๑ หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐาน พร้อมทั้งติดอากรแสตมป์ ๕ บาท
       ๕.๕.๒ หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์

นอกจากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นแล้ว หากเป็นกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ ท่านต้องนำหลักฐานเพิ่มเติม
ไปอีกคือ

แจ้งความคนหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
๑. บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)
๒. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ผู้หาย
๓. ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายที่ใหม่ที่สุด)
๔. ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน, กองหนุน)

แจ้งรถหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือพาหนะอื่นๆ ที่หาย
๒. ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
๓. ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน บริษัท ไปแจ้งความ ควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของ
   ห้างร้าน บริษัทนั้นๆ ไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย
๔. หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)
๕. หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ ถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถให้จดยี่ห้อ
   สี แบบ หมายเลข ประจำเครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)

แจ้งอาวุธปืนหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน
๒. ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้านขายปืนออกให้
   แจ้งทรัพย์สินหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น
๒. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี)
๓. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
๔. เอกสารสำคัญต่างๆ เท่าที่มี

แจ้งพรากผู้เยาว์ หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เยาว์
๒. ใบเกิดของผู้เยาว์ (สูติบัตร)
๓. รูปถ่ายของผู้เยาว์
๔. ใบสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ (ถ้ามี)

แจ้งถูกข่มขืนกระทำชำเรา หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. เสื้อผ้าของผู้ที่ถูกข่มขืนฯ ซึ่งมีคราบน้ำอสุจิ หรือรอยเปื้อนอย่างอื่น อันเกิดจากการข่มขืน และ
   สิ่งของต่างๆ ของผู้ต้องหาที่ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ
๒. ใบสำเนาสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เสียหาย
๓. รูปถ่าย หรือที่อยู่ของผู้ต้องหาตลอดจนหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)

แจ้งถูกทำร้ายร่างกายและถูกฆ่าตาย หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรืออาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนพยานหลักฐานต่างๆ
   ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ
๒. ให้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในที่เกิด
   เหตุจนกว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะไปถึงที่เกิดเหตุ
๓. รายละเอียดเท่าที่สามารถบอกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้

แจ้งถูกปลอมแปลงเอกสาร หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ นส.๓ แบบ สค. ๑ หนังสือสัญญาใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
๒. หนังสือที่ปลอมแปลง
๓. ตัวอย่างตามที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นให้หนังสือ

แจ้งถูกฉ้อโกงทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. หนังสือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง
๒. หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์
๓. หนังสือหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์

แจ้งถูกยักยอกทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. หนังสือสำคัญที่เป็นหลักฐานว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไปจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
๒. ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของ
๓. สำเนาหรือคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมในกรณีผู้กระทำผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่น ตามคำสั่งของ
   ศาลหรือพินัยกรรม

แจ้งถูกยักยอกทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเช่าซื้อ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา
๒. ใบสำคัญการติดต่อซื้อขาย เช่า ยืม ฝาก
๓. ใบสำคัญที่บริษัทห้างร้านออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาด น้ำหนักและหมายเลขประจำตัว

แจ้งทำให้เสียทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. หลักฐานต่างๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือครอบครองทรัพย์นั้น
๒. หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้
๓. หากเป็นของใหญ่โตหรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ซึ่งไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ให้เก็บรักษาไว้
   อย่าให้เกิดการเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม หรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป

แจ้งจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. เช็คที่ยึดไว้
๒. หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้อง หรือปฏิเสธการจ่ายเงิน


             

การขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้กระทำผิด เมื่อผู้เสียหายไปพบในท้องที่อื่น หลักฐานที่ควรนำไปแสดง
ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ

๑. สำเนาการรับแจ้งความ สมุดประจำวันของสถานีตำรวจที่รับแจ้งความ ให้ปรากฏวัน เดือน ปี
   ที่รับแจ้งความไว้ (ข้อประจำวัน)
๒. สำเนาหมายจับ (ถ้ามี)
๓. หนังสือรับรองของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แสดงว่าได้ออกหมายจับไว้แล้ว

วิธีปฏิบัติ ถ้าท่านมีความจำเป็นที่จะแจ้งความตามกรณีดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ให้ท่านไปพบพนักงาน
สอบสวน ณ โรงพักที่ใกล้ที่สุดแจ้งความประสงค์ และรายละเอียดให้ร้อยเวรทราบ พร้อมทั้งแสดงหลักฐาน
ต่างๆ ตามแต่กรณีที่ได้นำติดตัวมาแก่พนักงานสอบสวน

หมายเหตุ ในโอกาสที่ไปแจ้งความ หรือร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนั้น นอกจากนำหลักฐานไป
แสดงแล้ว ถ้าหากท่านสามารถพาพยานบุคคลที่รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไปพบพนักงานสอบสวนด้วยก็
จะเป็นประโยชน์แก่ท่าน และพนักงานสอบสวนเป็นอย่างมาก เพราะจะสามารถดำเนินเรื่องของท่านให้แล้ว
เสร็จได้เร็วขึ้น

๑. หากไม่อาจเขียนคำร้องขอประกันได้เอง ให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียน
   คำร้องให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
๒. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้วให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกัน ซึ่งต้องลงเวลารับคำร้อง
   ไว้ด้วย
๓. เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับคำ
   ร้อง

หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรใหญ่หรือสารวัตรคนใดคนหนึ่งทราบทันที
การขออนุญาตต่างๆ
๑. การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว  เช่น งานบวชนาค โกนจุก เผาศพ ฯลฯ
๑.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพ
๑.๒ ต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของสถานที่แสดงมหรสพ
๑.๓ ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๑.๔ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๑.๕ สารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่พิจารณาอนุญาตได้

๒. ขออนุญาตจัดงานประจำปีของวัดซึ่งเป็นงานใหญ่
๒.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพ
๒.๒ หนังสืออนุมัติให้จัดงานวัดจากเจ้าคณะแขวง เจ้าคณะเขต หรือเจ้าคณะภาค แล้วแต่กรณีตาม
    ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการจัดงานวัด
๒.๓ หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าอาวาส ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจไปขออนุญาตด้วยตนเองได้
๒.๔ แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่จัดงาน
๒.๕ ขออนุญาตให้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๒.๖ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๒.๗ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

๓. ขออนุญาตจัดงานทั่วไปที่เป็นงานใหญ่
๓.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพหรือสถานที่จัดงาน
๓.๒ แสดงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
๓.๓ มหรสพที่จัดให้มีการแสดง หรืองานที่จะจัดขึ้น
๓.๔ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๓.๕ ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๓.๖ แผนที่สังเขปบริเวณที่จัดงาน และแสดงมหรสพ
๓.๗ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๓.๘ เสนอเรื่องตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๓.๙ หากเลิกการแสดงเกินเวลา ๒๔.๐๐ น. ต้องเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกระทรวง
    มหาดไทย

๔. ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง
๔.๑ ผู้ขอไปขอคำร้องขอใช้เครื่องขยายเสียงจากเขต
๔.๒ นำคำร้องมายื่นต่อสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่เพื่อพิจารณามีความเห็นก่อน
๔.๓ นำคำร้องกลับคืนไปยังเขตที่ขอใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อพิจารณาอนุญาต

๕. ขออนุญาตจุดดอกไม้เพลิง
๕.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาล ท้องที่ที่ขอจุดดอกไม้เพลิง
๕.๒ แผนที่สังเขปบริเวณที่จุดดอกไม้เพลิง
๕.๓ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่จุดดอกไม้เพลิง กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๕.๔ หลักฐานแสดงว่า ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าประเภท ดอกไม้เพลิง
๕.๕ ห้ามจุดพลุและตะไล
๕.๖ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาอนุญาต

๖. ขออนุญาตแสดงมหรสพงิ้ว
๖.๑ ยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ พร้อมนำบทประพันธ์และเครื่องแต่งกายของงิ้วที่จะ
    แสดงไปด้วย
๖.๒ ส่งบทประพันธ์และเครื่องแต่งกายงิ้วให้ผู้กำกับการ ๓ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ตรวจ
    สอบก่อน
๖.๓ แผนที่สังเขปสถานที่แสดงงิ้ว
๖.๔ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่แสดงงิ้ว กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๖.๕ การแสดงงิ้วห้ามให้เครื่องขยายเสียงโดยเด็ดขาด
๖.๖ เสนอเรื่องราวตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาอนุญาต
๖.๗ ต้องไปชำระเงินค่าทำความสะอาดต่อเขตท้องที่

๗. ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
๗.๑ ไปยื่นคำร้องเรื่องราวที่แผนกอาวุธปืน กองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๗.๒ แผนกอาวุธปืน กองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะส่งเรื่องมายังกองบัญชาการตำรวจนคร
    บาล เพื่อส่งผ่านให้สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่
๗.๓ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ต้องสอบสวนคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
๗.๔ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่รวบรวมหลักฐานรับรองการประกอบอาชีพ รายได้หลักทรัพย์ และ
    อื่นๆ
๗.๕ พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ขอส่งไปตรวจสอบที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
๗.๖ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่บันทึกการตรวจสอบความประพฤติ หลักทรัพย์
๗.๗ รวบรวมหลักฐานทั้งหมดเสนอตามลำดับชั้นจนถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล
๗.๘ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณาเสนอไปยังกองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อ
    พิจารณา

๘. การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน
๘.๑ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการขอมีอาวุธปืน
๘.๒ ใบมรณบัตรของผู้ตาย
๘.๓ หนังสือพินัยกรรมของผู้ตาย หรือคำสั่งของศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (หากมี)
๘.๔ สอบสวนปากคำทายาททุกคน

๙. การพนันประเภทไพ่จีน, ไพ่ไทย, ไพ่ซีเซ็ก, ไพ่นกกระจอก
๙.๑ ยื่นคำร้องขอต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่ขออนุญาต
๙.๒ แบบแปลนแผนผังบ้านที่ขอเล่นการพนัน
๙.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน
๙.๔ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่สอบสวนปากคำผู้ขออนุญาต
๙.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่พิจารณาออกใบอนุญาตได้

๑๐. การขอตั้งสมาคม
๑๐.๑ ยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ พร้อมวิธีการและสิ่งของรางวัลโดยละเอียด
๑๐.๒ หลักฐานการเป็นเจ้าของสินค้า, เครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย
๑๐.๓ วิธีการโฆษณาและการมอบของรางวัล
๑๐.๔ หลักฐานการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท
๑๐.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ส่งวิธีการชิงโชคฯ ไปให้ผู้ชำนาญการพนันตรวจสอบก่อน
๑๐.๖ รวบรวมหลักฐานเสนอตามลำดับชั้นจนถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณา

๑๑. การขอตั้งสมาคม
๑๑.๑ ยื่นเรื่องราวคำร้องต่อตำรวจสันติบาล
๑๑.๒ ตำรวจสันติบาลส่งเรื่องไปยังผู้บัญชาการ เพื่อส่งสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่สมาคมตั้งอยู่
     ดำเนินการตรวจสอบสถานที่ตั้ง
๑๑.๓ เมื่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ดำเนินการเรียกร้อยแล้วเสนอเรื่องตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการ
     ตำรวจนครบาล
๑๑.๔ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเสนอเรื่องคืนตำรวจสันติบาลพิจารณาดำเนินการต่อไป

๑๒. ขออนุญาตเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
๑๒.๑ ผู้ขอยื่นเรื่องราวคำร้องและแบบแปลนแผนผังการก่อสร้างต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่พร้อม
     สำเนาโฉนดที่ดิน
๑๒.๒ กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ต้องให้เจ้าของที่ดินยินยอมก่อน
๑๒.๓ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ส่งเรื่องให้ กรมโยธาธิการ, ที่ว่าการกรุงเทพมหานคร, กองบังคับ
     การตำรวจดับเพลิง, กองบังคับการตำรวจจราจร ตรวจสอบมีความเห็น
๑๒.๔ กรณีที่ก่อสร้างเป็นอาคาร ต้องขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากที่ว่าการกรุงเทพมหานคร อีก
     ชั้นหนึ่ง
๑๒.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่รวบรวมหลักฐานทั้งหมดเสนอตามลำดับชั้นถึงผู้บังคับการ
๑๒.๖ ผู้บังคับการ จะนัดประชุมคณะกรรมการและส่งเรื่องคืนสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ เพื่อทำ
     หนังสือนัดกรรมการประชุม
๑๒.๗ เมื่อประชุมเรียบร้อยแล้วเสนอถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล
๑๒.๘ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณามีความเห็นเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา
๑๒.๙ กรณีขอเก็บน้ำมันในถังใหญ่ (เช่น คลังน้ำมัน) ต้องเสนอกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติ
     ก่อน

๑๓. ขออนุญาตชกมวยชั่วคราว
๑๓.๑ ต้องเป็นงานเทศกาล หรืองานนักขัตฤกษ์
๑๓.๒ ผู้ขออนุญาตยื่นเรื่องราวต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่
๑๓.๓ แบบแปลนแผนผันสถานที่ กรณีผู้ของไม่ใช่เจ้าของสถานที่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
     สถานที่ก่อน
๑๓.๔ คำร้อง พน.๑ (คำขออนุญาตเล่นการพนันชกมวย)
๑๓.๕ คำรับรองของกรรมการห้ามมวย, กรรมการจับเวลา และ
๑๓.๖ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณา

 หมายเหตุ การดำเนินการขออนุญาตต่างๆ ควรยื่นยังสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ ก่อนที่จะถึงกำหนด
วันขออนุญาตอย่างน้อย ๑๕ วัน

การยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหา
              http://www.pattanakit.net/images/column_1220797690/thug_jail_ha.gif
ตามนัยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๑๔ วรรคสอง
มาตรา ๑๑๐ ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีขึ้นไปผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และ
จะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็
ได้
มาตรา ๑๑๔ เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกันด้วยก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้อง
ขอประกันจัดหาหลักประกันมาดั่งต้องการ

หลักประกันมี ๓ ชนิด คือ
(๑) มีเงินสดมาวาง
(๒) มีหลักทรัพย์อย่างอื่นมาวาง
(๓) มีบุคคลมาเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์

หลักทรัพย์ที่ใช้ประกัน
๑. เงินสดเป็นธนบัตรของรัฐบาลไทย
๒. โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่า ที่ดินมีราคาสูง
   ไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
๓. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส. ๓ ก. ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาหรือพนักงานสอบ
   สวนเชื่อว่าที่ดิน มีราคาไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
๔. พันธบัตรของรัฐบาลไทย
๕. สลากออกมสินและสมุดฝากเงินประเภทประจำ
๖. ใบรับฝากประจำของธนาคาร
๗. ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
๘. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
๙. เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง
๑๐.หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
   หลักฐานประกอบ

๑. กรณีที่ผู้ยื่นคำร้องขอประกันเป็นผู้ที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แล้วต้องให้สามีหรือภรรยา
   ที่เป็นคู่สมรสมีหนังสือรับรองอนุญาตให้ทำสัญญาประกันได้
๒. กรณีที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นหลักประกัน ต้องให้เจ้าของ
   ร่วมมีหนังสือยินยอม ให้นำหลักทรัพย์นั้นมาวางเป็นหลักประกันด้วย
๓. ทุกครั้งที่มาติดต่อกับทางราชากร ควรมีบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกมาให้ด้วย

วิธีขอยื่นขอประกัน
๑. ให้ผู้ที่จะมาขอประกันตัวผู้ต้องหาพบ และยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่
   ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
๒. หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
๓. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้วให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่งต้องลงเวลารับคำร้อง
   ไว้ด้วย
๔. เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับคำร้อง
๕. หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรใหญ่หรือสารวัตรคนใดคนหนึ่ง
   ทราบทันที

การใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว
ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๖๒๒/๒๕๓๖ เรื่อง การใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลัก
ประกันในการปล่อยชั่วคราว ได้วางหลักเกณฑ์เป็นทางปฏิบัติ ดังนี้

๑. ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๓ ถึง ๕ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการหรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตรี - เรือตรี เรืออากาศตรีหรือร้อยตำรวจตรีถึงพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพัน
ตำรวจตรี ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ถึง ๘ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการทหาร หรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทถึงพันเอก นาวาอากาศเอกหรือพันตำรวจ
เอก ข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการอัยการ ตั้งแต่ชั้น ๑ หรือ ๒ ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวง
เงินไม่เกินสองแสนบาท (๒๐๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๙ หรือ ๑๐ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า ข้าราชการทหาร หรือข้าราช
การตำรวจที่มียศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอกที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันเอก
(พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) หรือพันตำรวจเอก (พิเศษ) ถึงพลตรี พลเรือตรี พลอากาศ
ตรี หรือพลตำรวจตรี ข้าราชการตุลาการ หรือข้าราชการอัยการ ตั้งแต่ชั้น ๓ ถึง ๔ ทำสัญญาประกันผู้อื่น
หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินห้าแสนบาท (๕๐๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๑๑ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการทหาร หรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่พลโท พลเรือโท พลอากาศโทหรือพลตำรวจโท ข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการอัยการตั้ง
แต่ชั้น ๕ ขึ้นไปทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท)
ข้าราชการดังกล่าวในข้อ ๑ หมายถึงข้าราชการประจำเท่านั้น

๒. ให้ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไปทำสัญญาประกันผู้อื่น หรือตนเองได้ใน
วงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)

๓. ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในทำนองเดียวกับข้าราชการตามที่
ระบุไว้ในข้อ  

๔. ให้สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำสัญญาประกันผู้อื่น
หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท)

๕. ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา
สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร กรรมการสุขาภิบาล กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)

๖. ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกันตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ แสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิด
ชอบพิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้าในกรณีจำเป็นเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับอัตราเงินเดือน หรือภาระผูก
พันอื่นใดอาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือรับรองจากต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้น ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่
ได้รับอนุญาตให้ประกัน

๗. ในกรณีบุคคลตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ บุคคลใดได้ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองไว้ แต่หลัก
ประกันยังไม่เป็นการเพียงพอให้ใช้บุคคลตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ บุคคลอื่นหรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกัน
เพิ่มเติมได้



การจดจำตำหนิ รูปพรรณบุคคลหรือยานพาหนะของคนร้าย
การก่ออาชญากรรม การก่อการร้าย ถือได้ว่าเป็นการกระทำของบุคคลทั้งสิ้น บุคคลต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในแง่ของผู้กระทำดังที่เรา
เรียกกันว่า "คนร้าย"หรือ "ผู้ร้าย" ประกอบกับวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การกระทำ
ความผิดของคนร้ายมักจะใช้ยานพาหนะต่างๆ เพื่อการหลบหนีอย่างรวดเร็วพาหนะที่ใช้เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ
ในช่วงเวลาที่คนร้ายกระทำความผิดและหลบหนีนั้นคนร้ายย่อมพยายามจะใช้เวลาให้รวดเร็วที่สุด เพื่อมิให้ผู้ใดพบเห็นและจะ
ให้ลอดพ้นจากการสืบสวนติดตามจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจพนักงานรักษาความปลอดภัยหรือประชาชนทั้งหลายย่อมมีโอกาสได้
พบเห็นการกระทำความผิดได้ง่ายกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งนี้เนื่องจากหากคนร้ายเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะไม่กระทำความผิด
ดังนั้นการที่ท่านำได้มีโอกาสพบเห็นการกระทำผิดดังกล่าว แล้วนั้น ถ้าท่านได้ถูกซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นท่านอาจจดจำได้
เฉพาะเหตุกว้างๆเท่านั้นในรายละเอียดอันสำคัญ เช่น รูปพรรณของคนร้าย การหลบหนีด้วยวิธีใด ท่านอาจจะตอบไม่ถูก
ทั้งนี้เพราะท่านอาจไม่สนใจมากนัก หรืออาจเนื่องจากการ ที่ท่านยังไม่ทราบว่าหลักการที่จะสังเกตจดจำรูปพรรณคนร้ายยาน
พาหนะที่ใช้หลบหนีเป็นอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไร จึงต้องจดจำสิ่งเหล่านั้น

การจดจำตำหนิรูปพรรณของคนร้าย     
ยานพาหนะของคนร้ายได้ดีนั้นมีความสำคัญมากต่อการสืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ทั้งนี้เนื่องจากถ้าท่านสามารถ
จดรูปร่างหน้าตาตำหนิรูปพรรณของคนร้าย และลักษณะรูปพรรณคล้ายกับข้อมูลของท่าน หรือนำไปสเกตช์ภาพคนร้ายแล้วประกาศ
สืบจับโดยทั่วไป ส่วนยานพาหนะที่ใช้นั้นย่อมเป็นแนวทางในการสืบสวนไปถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและผู้ที่ใช้ยานพาหนะนั้นซึ่งอาจสันนิษฐาน
ได้ว่าเป็นคนร้ายที่ได้กระทำความผิดอันเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างยิ่งในผลงานของตำรวจ
ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากที่พลเมืองดีเช่นท่านทั้งหลาย ได้แสดงความสามารถในการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย และยานพาหนะ
ที่ใช้เป็นอย่างดีเป็นผลให้ตำรวจสามารถพิชิตคดีสำคัญๆแล้วได้ตัวคนร้ายมาลงโทษในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง
ตำรวจกับประชาชนในอันที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การก่อความวุ่นวายต่างๆ พวกเราต้องช่วยกันทุกวิถีทางในอันที่จะป้องกันมิให้
เกิดเหตุหรือหากมีเกิดขึ้นเราก็สามารถจดจำข้อมูลของคนร้ายและนำมาลงโทษได้ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยแก่สังคม หรือ
สถานที่ที่ท่านดูแลรักษาให้คงอยู่ตลอดไปในการนี้จึงขอแนะนำวิธีการจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้ายลักษณะยานพาหนะต่างๆ มาให้ท่านได้ทราบ
เพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตจดจำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำหนิรูปพรรณของคนร้ายหากท่านสามารถจดจำรายละเอียดได้มาก โอกาสที่ทางตำรวจ
จะจับกุมคนร้ายก็มีมากขึ้นด้วย การสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล หรือคนร้าย

1. หลักการของการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณ มีดังนี้
1.1
สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่เห็นง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
1.2
สังเกตจดจำลักษณะเด่น ตำหนิไปสู่ลักษณะปกติธรรมดา
1.3
พยายามอย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำบางอย่างที่ท่านจดจำได้อย่างแม่นยำ
1.4
เมื่อคนร้ายหลบหนีไปแล้วอย่าถามผู้อื่นว่าเห็นอะไรให้รีบบันทึกตำหนิรูปพรรณที่ท่านเห็นและจดจำได้ลงใน สมุดหรือกระดาษโดยทันที
1.5
มอบรายละเอียดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่าย และควรจดจำก่อน
2.1
เพศ เป็น ชาย หญิง กระเทย
2.2
วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แก่ ฯลฯ อายุประมาณเท่าใด
2.3
รูปร่าง สูง เตี้ย อ้วน ผอม สันทัด ฯลฯ
2.4
ผิวเนื้อ ขาว ขาวเหลือง ดำ ซีด เหี่ยวย่น ฯลฯ
2.5
เชื้อชาติ ดูจากใบหน้า เป็นคนไทย จีน ลูกครึ่ง แขก ฯลฯ
2.6
รูปหน้า รูปไข่ กลม ยาว เหลี่ยม ฯลฯ
2.7
ผม สั้น หงอก หนา หยิก ตัดทรงอะไร หวีอย่างไร ฯลฯ
2.8
ปาก กว้าง แคบ ใหญ่ ริมฝีปากหนา ฯลฯ
2.9
หู กาง ใหญ่ เล็ก ติ่งหูแหลม ฯลฯ
2.10
ตา เล็ก โต พอง โปน ตาชั้นเดียว สองชั้น ตาเข สวมแว่นตา แว่นกันแดด ฯลฯ
3. สิ่งที่เป็นจุดเด่นผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย
3.1
ตำหนิ แผลเป็นบนใบหน้า ไฝ ปาน หูด เนื้อติ่งมีลักษณะอย่างไร อยู่ส่วนไหนของร่างกาย
3.2
แผลเป็น มีลักษณะอย่างไร ขนาดเท่าใด อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
3.3
ลายสัก สักรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ส่วนใดของร่างกาย
3.4
ความพิการ ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขนขาด้วน ลีบ ปากเบี้ยว ฯลฯ
3.5
ท่าทางการเดิน เดินตัวตรง ตัวเอียง ขากะเผลก
3.6
สำเนียงการพูด พูดช้า พูดเร็ว ติดอ่าง สำเนียง เป็นคนไทย จีน ฝรั่ง หรือสำเนียงคนภาคใด
3.7
การกระทำบ่อยๆ สูบบุหรี่จัด พูดเอามือปิดปากติดยาเสพติด เวลาพูดเอามือล้วงกระเป๋า
3.8
การแต่งกาย จดจำเสื้อ กางเกง เช่น แขนสั้น-ยาว ขาสั้น-ยาว ฯลฯ แบบของเสื้อ กางเกง เช่น ยีน เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต
เครื่องแบบนักศึกษา สีอะไร ลายแบบไหนมีตัวเลขอะไรหรือไม่ รองเท้าที่สวมเป็นชนิดใด สีอะไร แบบใด
3.9
เครื่องประดับ มีเครื่องประดับอะไรบ้างที่เห็นได้ชัด เช่น แว่นตา นาฬิกา แหวน สร้อย กระเป๋าถือ ฯลฯ
4.
กรณีที่คนร้ายมีการพรางใบหน้า เช่น สวมแว่นตากันแดด สวมหมวกกันน็อค คลุมศีรษะด้วยถุง ฯลฯ
ก็ให้พยายามจดจำสิ่งที่ใช้พราง และจดจำส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่มิได้พรางและจดจำได้ง่ายดังที่เคยได้กล่าวมาแล้ว

การสังเกตจดจำยานพาหนะของคนร้าย หรือผู้ต้องสงสัย

1. มีหลักใหญ่ๆ ดังนี้
1.1
สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่ เห็นง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
1.2
สังเกตจดจำตำหนิ รอยชน สติกเกอร์ จุดเด่นต่าง
1.3
พยายามสังเกต อย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำบางสิ่งที่ท่านจำได้อย่างแม่นยำ
1.4
เมื่อคนร้ายได้ลบหนีไปแล้ว อย่างถามผู้อื่นว่าเห็นอย่างไร ให้รีบบันทึกลักษณะเอาไว้ทัน ที
1.5
มอบรายละเอียดให้กับตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่ายและควรจดจำก่อน
2.1
ประเภทรถจักรยานยนต์ รถเก๋งส่วนบุคคล รถยนต์แท็กซี่สาธารณะ รถบรรทุก รถปิ๊กอัพ รถสามล้อเครื่อง รถจี๊ป ฯลฯ
2.2
สีของรถ เป็นรถสีใด บริเวณใด เป็นสีชนิดธรรมดา ลูไซท์ ฯลฯ
2.3
ความเก่า-ใหม่ เป็นรถค่อนข้างเก่าหรือใหม่
2.4
ยี่ห้อ เป็นรถยี่ห้อใด รุ่นปี พ.ศ. ใด (ต้องฝึกดูและจดจำยี่ห้อต่างๆ )
2.5
หมายเลขทะเบียน ดูได้จากแผ่นป้ายทะเบียน ให้จดจำทั้งตัวอักษรและหมายเลข ถ้าเป็นรถต่างจังหวัด
ให้จดจำชื่อจังหวัดไว้ด้วย แผ่นป้ายทะเบียนรถประเภทต่างๆจะแตก ต่างกันไป เช่น รถเก๋งส่วนบุคคลแผ่นป้ายทะเบียนจะเป็น
พื้นสีขาวตัวเลขและตัวอักษรเป็นสีดำ (เป็นป้ายของทางราชการ) ติดข้างหน้า-หลัง รถแท็กซี่แผ่นป้ายทะเบียนจะเป็นพื้นสีเหลือง
ตัวอักษรสีดำติดทั้งข้างหน้า-หลัง แผ่นป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์จะเป็นพื้นสีขาวตัวเลขตัวอักษรสีดำ ติดข้างหลังเพียงแผ่น
เดียวอนึ่ง ในการสั่งเกตุแผ่นป้ายทะเบียนพยายามสังเกตุด้วยว่าเป็นแผ่นป้ายที่ติดไว้อย่างหลวมหรือติดอย่างแน่นหนา
หรือมีการพรางเลขอักษรของแผ่นป้ายนั้นๆหรือไม่ด้วยวิธีการใด (ปัจจุบันคนร้ายมักใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอมหรือมีการ
พรางเลขหมายทะเบียนและตัวอักษรให้ผิดไปจากความเป็นจริง)
3. สิ่งที่เป็นตำหนิรอยชนที่เห็นได้ชัด
3.1
ตำหนิ เช่น กระจกแตก สีลอก มีรอยเจาะที่ตัวถังของรถ ฯลฯ
3.2
รอยชน รอยบุบ รถมีรอยถูกชนบริเวณใด มากน้อยเพียงใด มีรอยบุบที่ใด
3.3
จุดเด่น เป็นรถที่แต่งเพื่อใช้แข่งขัน มีเสาอากาศ ติดอุปกรณ์พิเศษต่างๆ กับรถ ฯลฯ
3.4
สติกเกอร์ ฟิล์มติดสติกเกอร์ บริเวณใด เป็นรูปหรือเครื่องหมาย หรือข้อความใด มีติดฟิล์มกรองแสงมาก-น้อยที่ใด อย่างไร
3.5
แผ่นป้ายที่ติดกับกระจกด้านหน้า ได้แก่ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี แผ่นป้ายผ่านเข้า-ออกของสถานที่ต่างๆ บางครั้งระบุชื่อไว้ที่แผ่นป้ายถ้าเห็นให้จดจำไว้ด้วย แผ่นป้ายแสดงสิทธิพิเศษต่างๆ เช่นการจอดรถ การประกันภัย ฯลฯ
การสังเกตยานพาหนะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รถยนต์หมายเลขทะเบียนรถ ตำแหน่งที่ติด ประเภทรถเก่า รถกระบะ รถบรรทุก สีรถสติกเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อรถ และรุ่น ตำแหน่งป้ายวงกลม ป้ายผ่านเข้า-ออกสถานที่ส่วนบุคคล ตำแหน่งเสาวิทยุ โทรทัศน์ ชนิดไฟท้าย รูปลักษณะสิ่งประดับ เช่น แขวนหน้ารถ ว่างหน้ารถ รถจักรยานยนต์ เลขทะเบียน ตำแหน่งที่ติด ประเภท วิบาก ผู้หญิง สีรถ สติกเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อ รุ่น ไฟท้าย บังโคลน ท่อไอเสีย แบบและเสียง
3.6
เสียงของเครื่องยนต์ แตรจดจำว่าเสียงอย่างไร รถบางประเภท เสียงเครื่องยนต์ เสียงแตร เฉพาะตัว เสียงรถแข่ง รถปกติ รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ย่อมแตกต่างกัน
บางครั้งเห็นยานพาหนะก็อาจสันนิฐานได้ว่าเป็นยานพาหนะอะไร ต้องอาศัยความชำนาญพอสมควร ทั้งหมดที่ได้แนะนำมานี้เป็นเพียงแนวทางในการที่ท่านจะใช้ในการสั่งเกตจดจำตำหนิรูปพรรณของบุคคล
ลักษณะของยานพาหนะที่ต้องสงสัย การที่ท่านจะจดจำได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับว่าท่านมีความสนใจและมีการฝึกฝนในการจดจำตามแนวทางมากน้อยเพียงใด วิธีการฝึกจดจำนั้นไม่ใช่ของยาก
ท่านอาจฝึกฝน จดจำบุคคลที่เดินผ่านไปมา หรือยานพาหนะที่ผ่านไปมาแล้วลองบันทึกสิ่งที่ท่านจำได้ แล้วนำไปตรวจสอบกับบุคคล ยานพาหนะจริง อย่างไรก็ตามข้อสำคัญของการสั่งเกตจดจำจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบส่วนของตำรวจก็คือข้อมูลที่แม่นยำใกล้เคียงกับความเป็น
จริงมากที่สุด
ดังนั้นหากท่านไม่แน่ใจในข้อมูลใดๆ ก็ไม่ควรใช้วิธีเดาหรือคิดเอาเอง เพราะถ้าให้ข้อมูลเหล่านี้กับตำรวจแล้วอาจทำให้เกิดการไขว้เขว สับสนแก่การปฏิบัติงานของตำรวจอย่างแน่นอน